Page 14 - วัฒนศิลปสาร ปีที่ ๑๓ (ตุลาคม ๒๕๖๐ - พฤษภาคม ๒๕๖๑) สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
P. 14

กุฏิหลังนี้บูรณะแล้วเสร็จเมื่อ พ.ศ. ๒๕๕๖ โดยได้รับการสนับสนุนจาก

       องค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี  กับส�านักศิลปากรที่ ๑๑ อุบลราชธานี และ
                                        ๘
       ได้รับรางวัล “อนุรักษ์สถาปัตยกรรมดีเด่น ประจ�าปี ๒๕๕๘” ประเภท อาคารปูชนีย
       สถานและวัดวาอาราม จากสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์




       กุฏิธรรมระโต
            กุฏิธรรมระโต สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๕๖ โดยศรัทธาของโยมชื่อว่า
       “ทุย รชนีภาคบุตร” ย้ายสถานที่ปฏิสังขรณ์ใหม่ พ.ศ. ๒๔๘๓ ลักษณะอาคารเป็น
       กุฏิไม้ยกพื้นสูง ประกอบด้วยส่วนตัวเรือนและส่วนระเบียงด้านหน้า สันนิษฐานว่า

       เป็นกุฏิที่จ�าพรรษา ของพระครูวิจิตรธรรมภาณี (พวง ธมฺมทีโป/นิลค�าอ่อน) เจ้าคณะ
       อ�าเภอเมืองอุบลราชธานี และเจ้าอาวาสวัดมณีวนาราม รูปที่ ๕ และพระครูศรีพิริยกิจ

       (ทองลา เตชปญฺโญ) อดีตรองเจ้าอาวาส นับถึงปัจจุบัน อายุ ๑๐๔ ปี ภายในกุฏิ
       ประดิษฐานพระพุทธมณีโชติ พระพุทธรูปศิลาฝีมือช่างพื้นถิ่นอุบลราชธานี
       ปางมารวิชัยประทับเหนือขนดนาค ๕ เศียร และยังเก็บรักษาพระพุทธรูปโบราณ

       ต่าง ๆ ของวัดกุฏิธรรมระโต ได้รับการบูรณะเมื่อ พ.ศ. ๒๕๕๘ ด้วยการควบคุมของ
       ส�านักศิลปากรที่ ๑๑ อุบลราชธานี โดยปัจจัยการบูรณะมาจากศรัทธาของคุณศิริธัช

       โรจนพฤกษ์ คุณสิทธิชัย โควสุรัตน์ และคุณสายสุณีย์ โควสุรัตน์ ๙














                      ภาพกุฏิธรรมระโต ด้านหน้าประดิษฐานพระพุทธมณีโชติ



            ๘ สนับสนุนงบประมาณ ๑,๕๗๐,๐๐๐ บาท และงบปรับปรุงภูมิทัศน์จากองค์การบริหาร
       ส่วนจังหวัดอุบลราชธานี อีก ๑๒๐,๐๐๐ บาท
            ๙ สนับสนุนงบประมาณ ๘๐๐, ๐๐๐ บาท

     12 วัฒนศิลปสาร
   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19