Page 13 - วัฒนศิลปสาร ปีที่ ๑๓ (ตุลาคม ๒๕๖๐ - พฤษภาคม ๒๕๖๑) สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
P. 13
ห้องใหญ่กลางของกุฏิ ตรงกลางตั้งโต๊ะหมู่บูชา พระพุทธรูปปางมารวิชัย ๑
องค์ กับคัมภีร์ใบลาน ขนาบข้างด้วยพระบฏรูปพระพุทธองค์ประทับยืน มีพระสาวก
นั่งเหนือตั่งประนมกรถวายนมัสการ ๒ ผืน ข้างละผืน และจัดแสดงจารึกหลักสีมา
๖
ของสิมเก่า กับจารึกการสร้าง “พระพุทธอนันตชินนะ” พระประธานในหอแจก (ศาลา
การเปรียญ) ขณะที่ผนังกุฏิด้านซ้าย ติดนิทรรศการประวัติ “พระอริยวงศาจารย์”
๗
(สุ้ย) พร้อมโต๊ะหมู่บูชาวางคัมภีร์ใบลาน พร้อมรูปพระอริยวงศาจารย์เพื่อ
พุทธศาสนิกชนจะได้นมัสการ “พระไตรรัตน์” ผ่านวัตถุธรรม คือ พระบฏ แทน
พระพุทธ คัมภีร์ใบลาน แทนพระธรรม รูปพระอริยวงศาจารย์ แทนพระสงฆ์
ส่วนตรงข้ามพระประธาน จัดแสดงตู้พระธรรมลายรดน�้า ๒ ตู้ ซึ่งวาดลวดลาย
เรื่องรามเกียรติ์ พุทธประวัติ วิธุรชาดก และนิทานพื้นบ้านปาจิตต์-อรพิมพ์ ส่วนผนัง
ด้านขวาจัดแสดงตู้ใส่ผ้าห่อคัมภีร์ ๑ ผืน ส่วนห้องทิศเหนือ แสดงหน้าต่างหนึ่ง
ในสองบานของกุฏิที่ยังคงมีจิตรกรรมฝาผนังหลงเหลืออยู่ เป็นภาพ “เสี่ยวกาง” หรือ
ทวารบาล ตามที่นิยมกันในยุครัชกาลที่ ๓
ภาพการจัดแสดงภายในกุฏิแดง
๖ นายณัฐพงค์ มั่นคง นักศึกษาสาขาวิชาศิลปกรรม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี วาดเมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๕๙ ในความอุปถัมภ์ของ
รศ.วีณา วีสเพ็ญ ประธานคณะกรรมการพิพิธภัณฑ์วัดมณีวนาราม เพื่อสืบสานงานศิลป์แขนงนี้สืบไป
๗ เรียบเรียงโดยคุณพ่อประดับ ก้อนแก้ว ปราชญ์ท้องถิ่นเมืองอุบลราชธานี
วัฒนศิลปสาร 11