Page 20 - วัฒนศิลปสาร ปีที่ ๑๓ (ตุลาคม ๒๕๖๐ - พฤษภาคม ๒๕๖๑) สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
P. 20
โกเมนพระพุทธรูปองค์นี้ ช่างที่แคะแกะหรือเรียกว่าเจียระไนต้องเป็นช่างที่มีฝีมือ
เยี่ยมจริงๆ ดูสัดส่วนรูปร่างพระวรกายแล้ว ช่างคงจะรักษาเนื้อแก้วไว้ให้มากเพราะ
แก้วสีแดงเข้มนี้คงมีน้อย หายาก จึงดูทรวดทรงสมบูรณ์ตามที่พรรณนามาว่าช่าง
มีฝีมือ ก็จะเห็นได้จากองค์พระพุทธรูป ทุกส่วนราบเรียบ ไม่มีที่บุ๋มเป็นรูหรือนูนเป็น
ตาตุ่มแต่ประการใด พระแก้วโกเมนได้ถูกอัญเชิญมาจากกรุงศรีสัตนาคนหุต
(เวียงจันทน์) โดยเจ้าค�าผง ซึ่งขณะนั้นได้ไปช่วยท�าศึก เมื่อครั้งพระเจ้ากรุงธนบุรี
มีรับสั่งให้พระยามหากษัตริย์ศึกและเจ้าพระยาสุรสีห์ ยกทัพไปเมืองนครจ�าปาสัก
หลังจากตีได้แล้วแม่ทัพทั้งสองก็เลยยกทัพไปตีเมืองนครพนม เมืองหนองคาย และ
กรุงศรีสัตนาคนหุต (เวียงจันทน์) ได้อีกด้วย
พระเจ้าสิริบุญสารหนีไปทางเมืองค�าเกิด เจ้าพระยาทั้งสอง จึงแต่งตั้งให้
พระยาสุโพเป็นผู้ครองกรุงศรีสัตนาคนหุต สงครามคราวนี้ท�าให้ไทยได้หัวเมือง
เหล่านั้นไว้ในอ�านาจ เจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก เจ้าพระยา สุรสีห์ได้กลับถึงกรุงธนบุรี
ในปี ๒๓๒๒ พร้อมทั้งอัญเชิญพระแก้วมรกตและพระบางกลับกรุงธนบุรี พร้อมกัน
นั้นได้น�าพระเจ้าองค์หลวงไชยกุมารไปกราบบังคมทูลพระเจ้ากรุงธนบุรีอีกด้วย ซึ่ง
ต่อมาพระเจ้ากรุงธนบุรีจึงได้โปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าองค์หลวงไชยกุมารไปครอง
เมืองนครจ�าปาสักตามเดิม
พ.ศ. ๒๓๒๒ หลังจากที่พระเจ้าองค์หลวงไชยกุมารได้กลับไปครองเมืองนคร
จ�าปาสักแล้ว มีความเห็นว่า เจ้าค�าผงได้มีความเกี่ยวดองกันในฐานะเป็นเขย
นางตุ่ยธิดาของอุปราชธรรมเทโวเป็นภรรยา เป็นผู้มีครอบครัวไพร่พลมาก จึงได้ขอ
พระบรมราชานุญาตจากพระเจ้ากรุงธนบุรีตั้งเจ้าค�าผงเป็นพระประทุมสุรราช
นายกองใหญ่ควบคุมครอบครัวเลกขึ้นตรงต่อเมืองนครจ�าปาสัก โดยให้ตั้งอยู่ที่
เวียงดอนกองหรือบ้านดู่บ้านแกนั่นเอง ในรัชสมัยสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก
มีพระบรมราโชบายที่จะให้ตั้งเมืองมากขึ้นเพื่อรวบรวมไพร่พลที่กระจัดกระจายอยู่
ให้เป็นปึกแผ่นเป็นก�าลังอันส�าคัญของประเทศชาติ ผู้ใดสามารถรวบรวมไพร่พล
ได้มากก็อนุญาตให้ตั้งขึ้นเป็นเมือง ส่วนเจ้าเมืองก็จะได้ผลประโยชน์ตอบแทน
ด้วยเหตุผลอันนี้เอง ในปี พ.ศ. ๒๓๒๙ พระประทุมสุราช (เจ้าค�าผง) จึงอพยพ
ครอบครัวไพร่พลมาสร้างบ้านเมืองใหม่ที่บ้านห้วยแจระแม (บ้านท่าบ่อในปัจจุบัน)
18 วัฒนศิลปสาร