Page 22 - วัฒนศิลปสาร ปีที่ ๑๓ (ตุลาคม ๒๕๖๐ - พฤษภาคม ๒๕๖๑) สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
P. 22

บุษราคัมไปซ่อนและปกปิดไว้ ครั้นแล้วก็มีผู้ออกความคิดว่า พระเทวธฺมมี (ม้าว)

       เจ้าอาวาสวัดศรีทองในสมัยนั้น (ปัจจุบัน คือวัดศรีอุบลรัตนาราม) ซึ่งเป็นสัทธิ
       วิหาริกของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ขณะทรงผนวช
       ท่านอาจจะเป็นที่เกรงขามของข้าหลวงจากกรุงเทพฯ ได้ ถ้าหากพวกเขาเหล่านั้นจะ

       ออกปากขอพระแก้วบุษราคัมไป ดังนั้นจึงได้อัญเชิญพระแก้วบุษราคัมออกจาก
       ที่ซ่อนมาถวายให้อยู่ในความคุ้มครองของพระเทวธมฺมี (ม้าว) ที่วัดศรีทอง

       (วัดศรีอุบลรัตนาราม) จนปัจจุบัน
            ส่วนพระแก้วโกเมน ซึ่งเป็นพระพุทธรูปอุบัติขึ้นมาพร้อมกับพระแก้วบุษราคัม
       ซึ่งประดิษฐานอยู่ ณ วัดศรีทอง (วัดศรีอุบลรัตนาราม) เป็นพระพุทธรูปอัญมณีใน

       ตระกูลแก้วเก้าประการ คือ เพชรดี มณีแดง เขียวใสแสงมรกต เหลืองใสสดบุษราคัม
       แดงแก่ก�่าโกเมนเอก สีหมอกเมฆนิลกาฬ มุกดาหารสีหมอกมัว แดงสลัวเพทาย

       สังวาลสายไพฑูรย์ แต่เท่าที่ทราบและเปิดเผย ก็มีอยู่เพียง ๓ องค์ เท่านั้นที่ปรากฏ
       คือ พระแก้วมรกต (เขียว) ประดิษฐานอยู่ที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม (กรุงเทพฯ)
       พระแก้วขาว (ไพฑูรย์) ประดิษฐานอยู่ที่วัดหลวง อ�าเภอเมืองอุบลราชธานี

       จังหวัดอุบลราชธานี พระแก้วบุษราคัม (เหลือง) ประดิษฐานอยู่ที่วัดศรีทอง
       (วัดศรีอุบลรัตนาราม)

            ส�าหรับพระแก้วโกเมนที่เจ้าค�าผงได้อัญเชิญมา ไม่มีการเปิดเผยแต่อย่างไร
       เพราะเกรงว่าจะเป็นภัย มีผู้ที่จะยื้อแย่งน�าไปทูลเกล้าฯ เจ้านายทางกรุงเทพฯ จึงได้
       ปกปิดเป็นความลับตลอดมา ครั้นเจ้าค�าผงได้คิดมาสร้างเมืองและวัดขึ้น จึงได้น�า

       พระแก้วบุษราคัมเพียงองค์เดียวไปประดิษฐานไว้ที่วัดหลวง ส่วนพระแก้วโกเมนคง
       ถูกน�าไปซ่อนไว้ที่วัดกุดระงุม โดยได้น�าท่อนไม้จันทน์มาท�าเป็นผอบครอบเอาไว้เป็น

       เวลานาน ตามค�าบอกเล่าของผู้ที่ได้รับใช้ที่อยู่ใกล้ชิดซึ่งได้เล่าสืบต่อกันมา
       จนกระทั่งพระประทุมวรราชสุริยวงษ์ สิ้นอายุขัย และกาลเวลาต่อมาพระมหาราช
       ครูท่านหอแก้ว ได้มรณภาพ รัชกาลที่ ๓ จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้

       พระอริยวงศาจารย์ญาณวิมลอุบลสังฆปาโมกข์ (สุ้ย) เปรียญ ๓ ประโยค นิสิต
       วัดสระเกศ กรุงเทพมหานคร รับพระราชทานสัญญาบัตรเป็นพระราชาคณะผู้ใหญ่

       มาเป็นหลักค�าเมืองอุบล สถิต ณ วัดป่าน้อย ปัจจุบัน คือวัดมณีวนาราม


     20 วัฒนศิลปสาร
   17   18   19   20   21   22   23   24   25   26   27