Page 54 - วัฒนศิลปสาร ปีที่ ๑๓ (ตุลาคม ๒๕๖๐ - พฤษภาคม ๒๕๖๑) สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
P. 54
จากการพานักศึกษาที่เรียนวิชาสิ่งแวดล้อมศึกษาหลายรุ่นเข้าไปเรียนรู้
ธรรมชาติ ดงฟ้าฮ่วน เป็นป่าผลัดใบ (Diciduous Forest) ประเภทป่าเบญจพรรณ
(Mixed Diciduous) มีไม้พื้นบ้านแทบทุกชนิดทั้งใหญ่-กลาง-เล็ก ค่อนข้าง
หลากหลาย เช่น ไม้ยางนา ประดู่ แดง เต็ง รัง แต้ ชาด พะยอม กะบาก ยูง
ตะเคียนหิน ก่อ สะแบง ชิงชัน เหมือด กะบก ตะค้อ ปอหู ผีผ่วน หว้าต่าง ๆ พิมาน
มะค่า มันปลา พอก บก เสียว กะโดนโคก กะโดนน�้า เม็ก ติ้ว สะแก ดวงไซ ไทร จาน
ตูมตัง อะลาง เปือย ส้มมอ ไผ่ป่า ฯลฯ ในฤดูฝนจะเป็นที่เก็บเห็ดกินได้ของชาวบ้าน
เช่น เห็ดเผาะ เห็ดก่อ เห็ดไค เห็ดระโงก เห็ดน�้าหมาก เห็ดเผิ่ง เห็ดขอน ฯลฯ
ดงฟ้า ฮ่วน เป็นป่าที่ค่อนข้างสมบูรณ์ มีแหล่งน�้าซับหลายแห่ง น�้าใต้ดินตื้นและ
จืดสนิท จึงท�าให้ผืนป่าดูเขียวครึ้มตลอดทั้งปี มีนก หนู กระรอก กระแต บ่าง พังพอน
ฯลฯ ให้เห็นได้บ่อย ๆ ส่วนนกท้องถิ่นมีให้เห็นหลายชนิด เช่น นกกด กะหรอด
กระยาง เอี้ยง กินปลี กระทา เขาคู เขาชวา เขาทอง กระจิบ กระจอก กางเขน
คุ่ม ขมิ้น แซงแซว เค้าแมว เปล้า เหยี่ยว เค้าหู นกไก่นา กะบา กาเวา อีกา
กะเด้า ขาบ ฯลฯ
นับเป็นค่าคูนเมืองอุบลราชธานี อย่างหาที่สุดมิได้ ที่สมเด็จพระเทพ
รัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จพระราชด�าเนินมาประกอบพิธีเปิด
สวนพฤษศาสตร์ดงฟ้าห่วน เมื่อวันที่ ๒๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ นอกจากจะเป็น
สวนพฤษศาสตร์ที่มีพื้นที่ราบใหญ่ที่สุดในอีสานแล้ว (๑,๒๑๗ ไร่) ควรมีการร่วมกัน
พัฒนาร่วมกับสวนพฤษศาสตร์ดงฟ้าห่วน ให้เป็นแหล่งการเรียนรู้ธรรมชาติ
ที่สมบูรณ์ที่สุด ส�าหรับอนุภาคลุ่มน�้าโขง ก็จะเป็นเรื่องวิเศษยิ่ง ทั้งนี้
ต้องวางแผนเชื่อมโยงกับฝั่งมหานครอุบลราชธานี ซึ่งมีศาลากลางแห่งใหม่และ
สวนสาธารณะห้วยแจระแมเป็นศูนย์กลาง เมื่อพัฒนาเต็มพื้นที่แล้ว “ดงฟ้าฮ่วน”
ก็จักมีคุณค่าต่อลูกหลานเมืองอุบลราชธานีและอนุภาคลุ่มแม่น�้าโขง-ชี-มูล ซึ่งจะ
มีชื่อเสียงดัง “ฮ่วน ฮ่วน” ก้องเหนือฟ้ามหานครอุบลราชธานีและในอนุภูมิภาค
ลุ่มน�้าโขง-ชี-มูล อย่างยั่งยืนตลอดไป
52 วัฒนศิลปสาร