Page 53 - วัฒนศิลปสาร ปีที่ ๑๓ (ตุลาคม ๒๕๖๐ - พฤษภาคม ๒๕๖๑) สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
P. 53
ดงฟ้าฮ่วน เป็นผืนป่าโคกหรือป่าดงที่ตั้งอยู่ด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือ
ของที่ตั้งบ้านห้วยแจระแม (บ้านท่าบ่อในปัจจุบัน) ที่ได้รับการเศกให้ตั้งเป็นเมือง
อุบลราชธานี ใน พ.ศ. ๒๓๓๕ เป็นป่าบนพื้นที่โคก หรือเนิน ระหว่างห้วยแจระแม
กับห้วยคุ้ม (ไม่ใช้ห้วยคลุ้ม) ซึ่งเป็นสาขาแยกจากห้วยแจระแมด้านทิศเหนือของ
ถนนแจ้งสนิท ประมาณ ๑ กิโลเมตร ต้นน�้าจากทุ่งนา ต�าบลขามใหญ่ ไหลผ่านถนน
ชยางกูร ผ่านบ้านหัวดูนและบ้านดอนยูง ต�าบลขามใหญ่ ส่วนห้วยแจระแม
เป็นห้วยที่เกิดจากทุ่งต�าบลหนองไหล พื้นที่ทุ่งบูรพาและพื้นที่ต�าบลหนองไข่นก
อ�าเภอม่วงสามสิบ ไหลอ้อมพื้นที่โคก มาบรรจบกับห้วยคุ้ม จึงเกิดมีผืนป่าระหว่าง
ห้วยทั้งสอง ขนาดพื้นที่ประมาณ ๕,๐๐๐ ไร่ ได้มีประชาชนเข้าไปตั้งเป็นบ้านเรือน
คงเหลือเป็นป่าสงวนประมาณ ๓,๔๐๐ ไร่ ในปัจจุบันถูกแบ่งให้เป็นที่ตั้งสวนพฤษ
ศาสตร์ดงฟ้าห่วน (๑,๒๑๗ ไร่) พื้นที่สวนพฤษศาสตร์ดงฟ้าห่วน จะตั้งอยู่ตรงกัน
ข้ามกับศาลากลางจังหวัดอุบลราชธานีแห่งใหม่ อยู่คนละฟากกับอ่างเก็บน�้า
ห้วยแจระแม ห่างประมาณ ๑ กิโลเมตร การเข้าถึงสวนพฤษศาสตร์ดงฟ้าห่วน
เข้าถึงได้สองทาง คือทางด้านถนนแจ้งสนิท ตามถนนเข้าสู่ศูนย์ราชการ (ถนน
คลังอาวุธ) เพื่อเข้าสวนพฤษศาสตร์ดงฟ้าห่วน ระยะทางประมาณ ๑,๕๐๐ เมตร
ส่วนอีกด้านเข้าทางถนนชยางกูร ตามถนนทางเข้าสวนพฤษศาสตร์ดงฟ้าห่วน ที่แยก
บริเวณทางเข้าห้วยคุ้ม เลยโรงเรียนบ้านด้ามพร้าประมาณ ๕๐๐ เมตร เลี้ยวซ้าย
สู่สวนพฤษศาสตร์ดงฟ้าห่วน ระยะทางประมาณ ๒ กิโลเมตร
ลักษณะผืนป่าดงฟ้าฮ่วนตามแนวเหนือ-ใต้ ประมาณกิโลเมตรเศษ กว้าง
ประมาณ ๕๐๐–๘๐๐ เมตร เป็นพื้นที่โคก หรือดงระหว่างล�าห้วย ซึ่งสองฝั่งของ
ล�าห้วยชายป่าได้ถูกชาวบ้านแผ้วถางท�านา–ท�าไร่ นอกจากพื้นที่ใกล้สวนพฤษ
ศาสตร์ดงฟ้าห่วน ซึ่งฝั่งห้วยแจระแมจะสูงชันและมีน�้าซับตลอดทั้งปี การจัดการ
ผืนป่าดงฟ้าฮ่วน เป็นสวนพฤษศาสตร์ มีการปักหลักเขตพื้นที่ตามกฎหมายจึงยังคง
รักษาผืนป่าเอาไว้ได้ ท�าให้เป็นผืนป่าใกล้เมืองและเป็นปอดของเมือง เป็นแหล่ง
พักผ่อนหย่อนใจและแหล่งเรียนรู้ธรรมชาติที่ส�าคัญยิ่งของมหานครอุบลราชธานี
ในอนาคตอันใกล้
วัฒนศิลปสาร 51