Page 52 - วัฒนศิลปสาร ปีที่ ๑๓ (ตุลาคม ๒๕๖๐ - พฤษภาคม ๒๕๖๑) สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
P. 52
ดงฟ้าฮ่วน–ฟ้าห่วน
ประจักษ์ บุญอารีย์*
บรรพบุรุษของชาวอุบลราชธานี คือ พระตา พระวอ ได้เสียสละน�าไพร่พล
สร้างบ้านแปงเมือง ท่านทั้งสองได้พลีชีพในสนามรบ เป็นสาเหตุส�าคัญให้ลูกหลาน
ได้ลงหลักปักฐานที่เมืองอุบลราชธานี ณ ปัจจุบันนี้ นับเป็นบุญและโชคหรือ
วิสัยทัศน์อันยาวไกลของเจ้าค�าผง หรือพระปทุมวรราชสุริยวงษ์ ที่เลือกพื้นที่บรรจบ
กันของแม่น�้าโขง–แม่น�้าชี–แม่น�้ามูล อันอุดมสมบูรณ์พร้อมทั้งดิน-ป่า-ข้าว-ปลา-
นา-น�้าและมีความปลอดภัย เพื่อตั้งเมืองอุบลราชธานี โดยเฉพาะป่าไม้ มีทั้งป่าโคก
ป่าทามอันอุดมสมบูรณ์ ดังปรากฏหลักฐานในวัดป่า ป่าชุมชนและป่าสงวน
ในทุกพื้นที่ของอุบลราชธานี-ยโสธร-อ�านาจเจริญ ดงฟ้าฮ่วน เป็นหนี่งในป่าสงวน
ผืนใหญ่ที่ใกล้ตัวเมืองมากที่สุดที่ยังรักษาผืนป่าเอาไว้ได้
ชื่อ ดงฟ้าฮ่วน (ออกเสียงขึ้นจมูก) ฮ่วน ฮวน หรือ ห่วน ก็ไม่น่าจะผิด
ทั้ง ๓ ค�า แต่ในสารานุกรมภาษาอีสาน–ไทย–อังกฤษ ของพ่อใหญ่ ดร.ปรีชา
พิณทอง ใช้ค�าว่า “ฮ่วน” คือลักษณะเสียงฟ้าร้องในฤดูฝน โดยเฉพาะเดือนห้าฟ้า
เดือนหกฝนตกฟ้าลง ฟ้าจะร้อง ฮ่วนฮ่วน หรือ ฮว่านฮว่าน ซึ่งมักจะมีในค�ากลอน
อีสาน เช่น กลอนล�า หรือค�าเทศน์แหล่ เช่น พอเมื่อฮ่วนฮ่วนฟ้าฮ่องเฮ่งระดูฝน…
ดงฟ้าฮ่วนยามเย็น หากยืนมองทางทิศตะวันออกบริเวณบ้านดอนยูงยามพระอาทิตย์
ตก จะเหมือนภูเขาพาดบังแสงอาทิตย์ยามเย็น สอดสาดแสงแดงเหนือผืนป่าและ
ค่อย ๆ จางลงจนมืดมิด เป็นภาพความสวยงามของธรรมชาติในพื้นที่เมือง
อุบลราชธานีที่หาดูได้ทุกยามเย็น ยิ่งวันไหนมีฝนตกและฟ้าร้องดัง ฮ่วนฮ่วน
เหนือผืนป่า ยิ่งดูทะมึนครื้มน่าสะพรึงกลัว ชื่อ ดงฟ้าฮ่วน ที่ชาวบ้านเรียกขานกัน
มานับร้อยปี ช่างเป็นชื่อที่เหมาะสมงดงานและยิ่งใหญ่จริง ๆ หวังว่าคงไม่มีใครไป
เปลี่ยนชื่ออื่นเป็นแน่แท้ ส่วนจะเขียน ฮ่วน-ฮวน-หรือห่วน ก็น่าจะท�าได้ แต่คนอ่าน
น่าจะออกเสียงให้ใกล้เคียงภาษาถิ่นอุบลราชธานีที่สุดก็แล้วกัน
* รองศาสตราจารย์ ข้าราชการบ�านาญ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
50 วัฒนศิลปสาร