Page 49 - วัฒนศิลปสาร ปีที่ ๑๓ (ตุลาคม ๒๕๖๐ - พฤษภาคม ๒๕๖๑) สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
P. 49

ชื่อผ้ากาบบัว มีความหมายเหมาะสมกับชื่อจังหวัดอุบลราชธานี

                 ผู้เขียนเห็นพ้องด้วยกับเหตุผลข้างต้นทั้ง ๔ ข้อ แต่เมื่อวิเคราะห์แล้ว น่าจะ
          ขยายความหมายของค�าว่า “กาบ” และ “กลีบ” ให้ชัดแจ้งโดยปราศจากข้อสงสัย
          ข้องใจใด ๆ

                 เมื่อดูความหมายของ “กาบ” ตามพจนานุกรมฯ อธิบายไว้ว่า “น. เปลือก
          หุ้มชั้นนอกของผลหรือดอก และของต้นไม้บางชนิด ลอกออกได้เป็นชั้นๆ เช่น
          กาบมะพร้าว กาบหมาก กาบกล้วย โดยปริยายหมายถึง สิ่งที่มีลักษณะเช่นนั้น”

          โดยนัยแห่งค�าอธิบายตามพจนานุกรมนี้ “กาบบัว” จึงหมายถึง เปลือกหุ้มชั้นนอก
          ของดอกบัว มิใช่กลีบบัวที่หุ้มรอบเกสรบัวที่อยู่ชั้นใน (หรือพูดง่ายๆ แบบชาวบ้าน
          ว่า กาบบัวคือกลีบบัวชั้นนอกสุดที่แก่จัดเกือบร่วงโรย)
                 เมื่อเข้าใจความหมายของ กาบบัวแตกต่างจากกลีบบัว โดยชัดแจ้งแล้วเช่น

          นี้ เกิดมีข้อคิดเห็นที่สนับสนุนในการเรียกว่า “ผ้ากาบบัว” เนื่องจากว่า กาบบัว
          มีพื้นผิวเป็นเส้นทางตั้งขึ้นเด่นชัด สามารถน�ามาเป็นตัวอย่างในการทอลายผ้า
          ได้อย่างงดงาม ตรงข้ามกับ กลีบบัว ยังไม่ปรากฏลายแกนนูน กาบบัว มีสี

          ตามธรรมชาติชัดเจน สอดคล้องกับการย้อมจากพืชพรรณธรรมชาติ ให้ได้สีตามที่
          ต้องการ แต่กลีบบัว ยังไม่ปรากฏสีเด่นชัด
                 ผ้ากาบบัว เป็นผ้าที่มีมาแต่โบราณในอุบลฯ จึงใช้ชื่อเดิม เพื่ออนุรักษ์ประวัติ

          ผ้าชนิดนี้ไว้มิให้เสื่อมสูญ ชื่อผ้ากาบบัว นอกจากมีความเหมาะสมกับชื่อ
          จังหวัดอุบลราชธานีแล้ว ยังมีความหมายถึงเชื้อสายบรรพบุรุษที่สืบเนื่องมาจาก
          “นครเขื่อนขันธ์กาบแก้วบัวบาน” อีกด้วย

                 ข้อคิดเห็นที่สนับสนุนเหตุผลในการเรียกว่า “ผ้ากาบบัว” ข้อ ๑ และข้อ ๒
          เป็นหลักส�าคัญของชื่อผ้ากาบบัว ข้อ ๓ อนุมานเข้ากับเหตุผลข้อ ๑ ได้ ข้อ ๔
          เสริมความหมายเหตุผลในข้อ ๔ ส่วนเหตุผลตามข้อ ๒ ที่ว่า ชื่อผ้ากาบบัว ออกเสียง
          ง่าย ไพเราะ และง่ายต่อการจ�านั้น ขอเสริมเพิ่มค�าว่า “ผ้ากาบบัว” ยังแสดงออกถึง

          งามค�า งามความ และ งามตา อีกด้วย
                 สรุปได้ว่า การที่เรียกชื่อผ้าเอกลักษณ์เมืองอุบลราชธานี ว่า “ผ้ากาบบัว”

          เนื่องจากมีเหตุผล ประกอบกับข้อคิดเห็นและความหมายในตัวเองชัดเจน จะเป็น
          “ผ้ากลีบบัว” ไม่ได้ด้วยประการฉะนี้


                                                                   วัฒนศิลปสาร  47
   44   45   46   47   48   49   50   51   52   53   54