Page 111 - วัฒนศิลปสาร ปีที่ ๑๕ (ตุลาคม ๒๕๖๒ - พฤษภาคม ๒๕๖๓) สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
P. 111
วัดในเขตอ�ำเภอเมืองอุบลรำชธำนี จังหวัดอุบลรำชธำนี 103
วัดต�าแย
๑. ที่ตั้ง
เลขที่ ๕๔ บ้านต�าแย หมู่ ๑ ต�าบลไร่น้อย อ�าเภอเมืองอุบลราชธานี
จังหวัดอุบลราชธานี
พิกัด (UTM หรือละติจูด/ลองจิจูด) ๑๕.๒๖๙๐๓๑, ๑๐๔.๘๖๕๓๒๙
๒. ประเภทแหล่งศิลปกรรม โบราณสถานและโบราณวัตถุ
วัดต�าแย มีเสนาสนะและอาคารต่าง ๆ ได้แก่ สิม อุโบสถหลังใหม่
ศาลาการเปรียญหลังเก่า (ไม่ได้ใช้งาน) ศาลาการเปรียญ กุฏิ หอพระอุดมสมบูรณ์
ศาลท้าวมหาพรหม และประตูโขง ๒ ประตู (ทิศตะวันตกและทิศใต้) ในศาลา
การเปรียญมีพระเจ้าใหญ่อินแปง (จ�าลอง) เป็นพระประธาน มีโบราณสถาน
โบราณวัตถุและศิลปวัตถุที่ส�าคัญ ดังนี้
๒.๑ สิม
สิมเป็นสิมขนาดเล็กแบบอีสาน ก่ออิฐถือปูน แผนผังรูปสี่เหลี่ยม
ผืนผ้าขนาด ๓ ห้อง ยาว ๕.๕๐ เมตร ยาว ๗.๖๕ เมตร กว้าง ๔.๒๐ เมตร
สูงประมาณ ๗ เมตร (วิโรฒ ศรีสุโร ๒๕๓๖: ๒๔๙) หันหน้าไปทางทิศตะวันออก
ด้านหน้าเป็นมุขโถงทางขึ้น (ระเบียง) มีเสากลมด้านหน้า ๒ ต้นรองรับโครง
หลังคา (พรรณธิพา สุวรรณี ๒๕๕๖: ๔๑) ผนังด้านหน้ามีจารึกอักษรไทยน้อย
ข้อความว่า “พุดทะสังกาสลาชาล่วงไปแล้ว ๒ พ (พัน) (๒๔๑๗) วัสสาปีจอ
สอสกเดือน ๒...ยาคูทาผู้เป็นเจ้าวัด...พัดทะสีมมาที่นี้ มีใจใสสัดทา...พร้อมกัน
กับทายกอุบปาสกอุบปาสิกาอุดสาหามุงสิมแล้วส�าเลด มีสมเด็จซาดาหัวขน
หัวบูเนนอู...อันเตวาสิดพ้อมกันจิ่งได้ส้างขอให้ได้เห็นพระเจ้าอะลิยะเมดไตย
เมื่อตัดพละหยา (ผญา) สัพยุดตันยานก้ข้าเทิ (เทิน)...โยโหตุ”