Page 112 - วัฒนศิลปสาร ปีที่ ๑๕ (ตุลาคม ๒๕๖๒ - พฤษภาคม ๒๕๖๓) สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
P. 112
104 วัดในเขตอ�ำเภอเมืองอุบลรำชธำนี จังหวัดอุบลรำชธำนี
วิโรฒ ศรีสุโร อธิบายลักษณะสิมหลังนี้ว่า “ทรวดทรงดูกะทัดรัด
สมถะเรียบง่าย ฐานแอวขันปากพานสัดส่วนดีมาก ภายในสิมไม่มีฐานชุกชีท�า
เป็นแท่นยาวตลอดความกว้างของสิม มีพระไม้ขนาดเล็กอยู่ ๓ องค์แทนพระ
ประธาน ดูแล้วรู้สึกถึงความปล่อยปละละวางลงได้ดีกว่าสิมที่มีโต๊ะหมู่บูชาวาง
พระพุทธรูปมากมายจนดูรกไปหมด งานตกแต่งที่ส�าคัญและมีคุณค่าคือ คันทวย
นาคไม้แกะสลักด้านละ ๔ ชิ้น ท�าเต้าไม้ยื่นออกมารับ สัดส่วนสวยงามดูเบาลอย
มากกว่าให้พลังเพื่อรับน�้าหนัก” (วิโรฒ ศรีสุโร ๒๕๓๖: ๒๔๙)
กรมศิลปากรประกาศขึ้นทะเบียนสิมวัดต�าแยเป็นโบราณสถานของ
ชาติ และก�าหนดขอบเขตโบราณสถานในราชกิจจานุเบกษา วันที่ ๑๒ กันยายน
พ.ศ. ๒๕๔๐ เนื้อที่ ๑ ไร่ ๑ งาน ๖๙.๒๘ ตารางวา และบูรณะเมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๕
ปัจจุบันยังใช้ท�าสังฆกรรม
๒.๒ ฮาวเทียน
ฮาวเทียนไม้ (ราวเทียน) ศิลปะพื้นบ้าน มี ๒ ฮาว ฮาวแรกเป็นฮาว
แผงขนาด ๓ ช่วง ช่วงกลางมียอดเป็นรูปทรงเจดีย์สามชั้น ด้านข้างสองข้างเป็น
แผงไม้ไผ่สานลายขัด ฮาวที่สองเป็นฮาวเสาเดียวไม้กลึงปักบนฐานไม้ครึ่งวงกลม
ทรงหลังเต่า ตัวฮาวเป็นไม้เหลากลมท่อนเดียวติดบนเสาแบบตาชั่ง
๒.๓ พระแผง
พระแผง ศิลปะพื้นบ้าน จ�านวน ๑๐ ช่อง รวมพระพิมพ์จ�านวน
๗๖ องค์
๒.๔ พระพุทธรูปศิลา
พระพุทธรูปศิลา ศิลปะพื้นบ้าน มีจ�านวน ๑๐ องค์
๒.๕ ธรรมาสน์
ธรรมาสน์ยอดขาสิงห์ ศิลปะพื้นบ้าน เสาเป็นนาคสะดุ้ง สภาพค่อน
ข้างช�ารุด