Page 114 - วัฒนศิลปสาร ปีที่ ๑๕ (ตุลาคม ๒๕๖๒ - พฤษภาคม ๒๕๖๓) สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
P. 114
106 วัดในเขตอ�ำเภอเมืองอุบลรำชธำนี จังหวัดอุบลรำชธำนี
๕. ภาพประกอบ
ภาพประกอบถ่ายโดย ปกรณ์ ปุกหุต และณัฐพงค์ มั่นคง เมื่อวันที่ ๒๗
กุมภาพันธ์ และ ๒ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๒
๖. เกร็ดเรื่องเล่าเกี่ยวกับวัด
๖.๑ สิมเก่า ยังใช้ท�าสังฆกรรมตามปกติ ส่วนสิมใหม่ได้รับวิสุงคามสีมา
แล้วแต่ยังไม่ได้ผูกสีมา
๖.๒ ศาลาใหญ่ (ศาลาการเปรียญ) เริ่มสร้าง พ.ศ. ๒๕๔๕ เพื่อประดิษฐาน
พระเจ้าใหญ่อินแปง(จ�าลอง) สร้างขึ้นตามค�าแนะน�าของหลวงปู่อมร เขมฺจิตฺโต
ว่าพระประธานควรเป็นพระภาคอีสาน พระครูอินทสารโสภณพร้อมด้วยชาวบ้าน
ต�าแยจึงขออนุญาตสร้างจากพระเทพกิตติมุนีและจากพระเจ้าใหญ่อินแปง
ได้อัญเชิญพระบูชาพระเจ้าใหญ่อินแปงขนาด ๕ นิ้วมาบรรจุที่พระเกศด้วย สร้าง
ใหญ่กว่าองค์จริงคือ หน้าตักกว้าง ๒๙ นิ้ว สูง ๗ เมตร ค่าก่อสร้าง ๗๐๐,๐๐๐ บาท
พระมงคลกิตติธาดา (อมร เขมฺจิตฺโต) ได้ส่งช่างมาก่ออิฐและมอบเงินประเดิม
๓,๐๐๐ บาท ใช้เหล็กเส้นเป็นแกน มีอภินิหารขณะก่อสร้างหลายครั้ง เช่น
ช่างก่อสร้างตกลงมาจากชั้นบนรอดตาย พระครูอินทสารโสภณขอพรจาก
พระเจ้าใหญ่อินแปงจึงมีผู้ถวายเงินสมทบสร้างศาลาการเปรียญมาโดยตลอด
๖.๓ เหตุที่สร้างศาลาขนาดใหญ่เพราะศาลาหลังเก่าเล็กเกินไป
แต่พุทธศาสนิกชนมาร่วมงานบุญของวัดเป็นจ�านวนมาก
๖.๔ ชื่อวัดต�าแยมาจากชื่อบ้านต�าแย ซึ่งเคยอยู่ในดงต�าแย มีเรื่องเล่าว่า
ช่วงสงครามเวียดนามฝรั่งมาอาศัยอยู่ที่บ้านต�าแยถูกชาวบ้านหยอกล้อด้วย
ต�าแยจนป่วยต้องเข้ารักษาที่โรงพยาบาล
๖.๕ ศาลพระพรหมตั้งอยู่บริเวณดอนเจ้าปู่ มีงานบวงสรวงในเดือน ๓
ศาลนี้สร้างขึ้นด้วยเงินของผู้ที่มาบนบานแล้วถูกหวย ส่วนพระพรหมเป็นฝีมือ
ของนายสมัย จันทรวิจิตร (ช่างผู้สร้างโบสถ์หลังใหม่) สร้างโดยไม่คิดค่าแรงโดย
ใช้วัสดุที่วัดจัดหาให้เมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๗