Page 169 - วัฒนศิลปสาร ปีที่ ๑๕ (ตุลาคม ๒๕๖๒ - พฤษภาคม ๒๕๖๓) สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
P. 169
วัดในเขตอ�ำเภอเมืองอุบลรำชธำนี จังหวัดอุบลรำชธำนี 161
วัดบูรพา
๑. ที่ตั้ง
เลขที่ ๒๔ ถนนบูรพาใน ต�าบลในเมือง อ�าเภอเมืองอุบลราชธานี
จังหวัดอุบลราชธานี
พิกัด (UTM หรือละติจูด/ลองจิจูด) ๑๕.๒๓๑๙๙๙, ๑๐๔.๘๗๔๕๔๖
๒. ประเภทแหล่งศิลปกรรม โบราณสถานและโบราณวัตถุ
วัดบูรพา มีเสนาสนะและอาคารต่าง ๆ ได้แก่ สิมเก่า อุโบสถ หอไตร มหา
วิหารบูรพาจารย์ (ศาลาการเปรียญ) ลานพระพุทธโคตมะปัจจะรินทร์ (พระ
นาคปรก) หอระฆัง หอระฆังเก่า หอกลองศรีสุวรรณ ส�านักงานเจ้าอาวาส
วัดบูรพา กุฏิราว ๒๐ หลัง ศาลาอเนกประสงค์ชุมชนบูรพา ๑ โรงเทียนวัดบูรพา
สถานีวิทยุเสียงธรรมเพื่อประชาชน และประตูโขง ๓ ประตู (ทิศเหนือ ๒ ประตู
และทิศตะวันตก ๑ ประตู) โบราณสถาน โบราณวัตถุ และศิลปวัตถุที่ส�าคัญ
มีดังนี้
๒.๑ สิมเก่า
สิมเก่าเป็นสิมทึบ แผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาด ๓ ห้อง มีมุขโถง
ด้านหน้า หันหน้าไปทางทิศใต้ ซึ่งเป็นแม่น�้ามูล มีเสาด้านหน้า ๓ ต้นรองรับ
หลังคามุขโถงด้านหน้า มีบันไดทางขึ้นอยู่ด้านหน้า ๒ บันได ด้านในสุดก่ออิฐ
เป็นฐานชุกชีติดผนังรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ายกเก็จ ลักษณะเป็น มุขหน้ามีเพิงสั้นคล้าย
หลังคาปีกนก (พรรณธิพา สุวรรณี ๒๕๕๖: ๓๔) ฐานสิมก่ออิฐเป็นผนังสูงราว
๖๐ ซม. ต่อด้วยไม้ตีเป็นโครงขึ้นจดชายคา พอกด้วยดินเหนียวผสมแกลบ
แล้วจึงฉาบปูนทับอีกชั้นหนึ่ง ด้านข้างเจาะช่องหน้าต่างข้างละ ๒ ช่องท�าลูกกรง
แทนบานหน้า ผนังหลังพระประธานเจาะก่อทึบเจาะเป็นช่องกลม ๔ ช่อง
(ห้างหุ้นส่วนจ�ากัด ศริญญามาศก่อสร้าง ๒๕๔๕: ๙) สันนิษฐานว่ามีมาก่อนที่
พระครูสีทา ชยเสโนจะบูรณะและสร้างวัดบูรพาในปี พ.ศ. ๒๔๓๙ (พระครูอุบล