Page 170 - วัฒนศิลปสาร ปีที่ ๑๕ (ตุลาคม ๒๕๖๒ - พฤษภาคม ๒๕๖๓) สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
P. 170

162 วัดในเขตอ�ำเภอเมืองอุบลรำชธำนี จังหวัดอุบลรำชธำนี


          ธรรมวิศิษฐ์ ๒๕๖๒: สัมภาษณ์) ปัจจุบันอยู่ระหว่างการสร้างอาคารครอบตาม

          แบบแปลนของกรมศิลปากร ขึ้นทะเบียนและก�าหนดขอบเขตโบราณสถานชื่อ
          วัดบูรพา ในราชกิจจานุเบกษา วันที่ ๑๗ ธันวาคม ๒๕๔๔ พื้นที่ประมาณ
          ๒ งาน ๗๖ ตารางวา

               ๒.๒ พระประธานในสิมเก่า
                     พระประธานสิมเก่าเป็นพระพุทธรูปปูนปั้นปางสมาธิ ขัดสมาธิราบ

          เป็นพุทธศิลป์แบบเมืองอุบลราชธานี
               ๒.๓ รูปเหมือนพระบูรพาจารย์
                     รูปเหมือนพระบูรพาจารย์เดิมอยู่ในหอแจกหลังเก่า เมื่อไฟไหม้

          หอแจกพระครูอมรวิสุทธิ์ (อมโร แดง) ได้เป็นประธานบูรณะแล้วอัญเชิญมาไว้ที่
          สิมเก่า ได้แก่ รูปเหมือนของพระครูสีทาชยเสโน พระครูวิเวกพุทธกิจ (กนฺตสีโล

          เสาร์) หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต หลวงปู่สิงห์ ขนฺตยาคโม หลวงปู่ลี ธมฺมธโร
          และภายหลังได้สร้างรูปเหมือนของพระครูอมรวิสุทธิ์ (อมโร แดง) เพิ่มอีกรูปหนึ่ง
          รวมเป็น ๖ รูป

               ๒.๔ ศิลปวัตถุที่เหลือจากไฟไหม้หอแจก
                     ศิลปวัตถุที่เหลือจากไฟไหม้หอแจกมีพระพุทธรูป  ๔  องค์

          และชิ้นส่วนของเทพพนมจากหน้าบัน ๒ ชิ้น จัดเก็บไว้ในตู้กระจกในสิมเก่า
               ๒.๕ หอไตร
                      หอไตรเป็นเรือนไม้ใต้ถุนสูงผังสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาด ๓ ห้อง ๒ หลัง

          เคียงกัน เสากลม หลังคาจั่วมุงแป้นไม้ หน้าบันกรุไม้รูปรัศมีพระอาทิตย์
          มีเชิงชายไม้ฉลุ มีชานเชื่อมกัน (ปัจจุบันชานหักพังแล้ว) ฝาไม้แบบก้างปลา

          พรึงแกะสลักเป็นลายกลีบบัวรอบอาคาร หลังทิศใต้มีหน้าต่างด้านข้างทิศใต้
          ๓ ช่อง หน้าต่างด้านข้างของหลังทิศเหนืออยู่ด้านทิศเหนือ มีหน้าต่างด้านสกัด
          ด้านละช่อง กรอบหน้าต่างเป็นขากระหย่องเท้าสิงห์ บันไดแต่ละหลังอยู่ใน

          หอห้องสุดด้านทิศตะวันออกมีชานพักบันได ๑ ชั้น มีประตูเป็นบานเปิดขึ้นที่พื้น
   165   166   167   168   169   170   171   172   173   174   175