Page 171 - วัฒนศิลปสาร ปีที่ ๑๕ (ตุลาคม ๒๕๖๒ - พฤษภาคม ๒๕๖๓) สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
P. 171

วัดในเขตอ�ำเภอเมืองอุบลรำชธำนี จังหวัดอุบลรำชธำนี 163


            ชั้นบน หลังทิศใต้ฝีมือสร้างประณีตมาก หลังทิศเหนือฝีมือหย่อนกว่าโดยเฉพาะ

            การตกแต่งลวดลาย (ห้างหุ้นส่วนจ�ากัด ศริญญามาศก่อสร้าง ๒๕๔๕: ๙)
                        หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต เคยใช้หอไตรนี้เป็นกุฏิด้วย (พระครูอุบล
            ธรรมวิศิษฐ์ ๒๕๖๒: สัมภาษณ์) หอไตร ได้ขึ้นทะเบียนและก�าหนดขอบเขต

            โบราณสถานพร้อมกับสิมเก่าในราชกิจจานุเบกษา วันที่ ๑๗ ธันวาคม ๒๕๔๔
            และได้บูรณะใน พ.ศ. ๒๕๔๕

                  ๒.๖ เสมาหินทราย
                        ใบเสมาหินทรายจ�านวน ๔ ใบ ศิลปะทวารวดี ไม่ทราบที่มา
            ปักอยู่ในซุ้มก�าแพงแก้วอุโบสถ

                  ๒.๗ กุฏิเรือนไทย
                        กุฏิเรือนไทยสร้าง พ.ศ. ๒๕๔๕ เป็นที่ประดิษฐานรูปเหมือน

            ของพระครูอมรวิสุทธิ์ (อมโร แดง) อัฐิ หีบศพ และอัฐบริขาร ที่รูปเหมือน
            ของท่านจารึกว่า “พระครูอมรวิสุทธิ์ (หลวงพ่อแดง อมโร) อดีตเจ้าอาวาส
            วัดบูรพา ชาตะ ๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๗๗ มรณภาพ ๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๙

            สิริอายุ ๗๒ ปี ๕๓ พรรษา” เปิดให้เข้าไปนมัสการทุกวัน
                  ๒.๘ ธาตุบรรจุอัฐิ

                        ธาตุบรรจุอัฐิกระจายอยู่รอบวัด ส่วนใหญ่เป็นธาตุของคนไทย
            เชื้อสายจีนและญวน รูปทรงธาตุมีทั้งแบบลาว แบบจีน แบบญวน มีฮวงซุ้ย
            หลายแห่งตกแต่งอย่างสวยงาม ส่วนใหญ่สร้างในช่วง พ.ศ. ๒๔๘๐ เป็นต้นมา

                  ๒.๙ โปงทอง
                        โปงทองหล่อด้วยโลหะแขวนอยู่บนหอระฆัง

                  ๒.๑๐ โปงไม้
                        โปงไม้แขวนอยู่ชั้นบนหอระฆังหลังเก่า
   166   167   168   169   170   171   172   173   174   175   176