Page 172 - วัฒนศิลปสาร ปีที่ ๑๕ (ตุลาคม ๒๕๖๒ - พฤษภาคม ๒๕๖๓) สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
P. 172
164 วัดในเขตอ�ำเภอเมืองอุบลรำชธำนี จังหวัดอุบลรำชธำนี
๒.๑๑ สถานที่ประชุมเพลิง พระครูวิเวกพุทธกิจ (กนฺตสีโล เสาร์)
สถานที่ประชุมเพลิง พระครูวิเวกพุทธกิจ (กนฺตสีโล เสาร์)
เป็นลานใกล้หอระฆัง สันนิษฐานว่าเป็นบริเวณประชุมเพลิงหลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล
มีป้ายติดไว้เป็นอนุสรณ์
๓. ประวัติความเป็นมา
วัดบูรพาเป็นวัดราษฎร์ สังกัดคณะสงฆ์ธรรมยุติกนิกาย มีเนื้อที่ ๑๙ ไร่
๑ งาน ๑๕ ๖/๑๐ ตารางวา มีอาณาเขตทิศเหนือจดถนนพโลรังฤทธิ์ ทิศตะวัน
ออกและทิศใต้จดแม่น�้ามูล ทิศตะวันตกจดที่ดินเอกชนและซอยบูรพาใน ๒
เดิมเป็นวัดร้างอยู่บนโนนป่าทึบ (ป่าโสงเสง) มีซากสิมเก่า ตั้งขึ้นเมื่อราว
พ.ศ. ๒๔๓๖ หรือ ๒๔๓๙ โดยพระครูสีทา ชยเสโน ได้รับมอบหมายจากสมเด็จ
พระมหาวีรวงศ์ (ติสโส อ้วน) ให้มาเป็นเจ้าอาวาส และเป็นอุปัชฌาย์ ท่านจึง
ปฏิสังขรณ์สิมและสร้างกุฏิขึ้น ต่อมาพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวง
สรรพสิทธิประสงค์ทรงให้การอุปถัมภ์ ให้ผู้ต้องหามาช่วยถากถางป่าบูรณะ
ซ่อมแซม เมื่อแล้วเสร็จได้นิมนต์ท่านดูแลวัดใต้ และวัดเลียบด้วย (ที่ระลึกงาน
พระราชทานเพลิงศพ พระครูอมรวิสุทธิ์ (แดง อมโร) ๒๕๕๐: ๔๗-๔๘) ได้รับ
พระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๔
ชื่อวัดบูรพา หมายถึงวัดที่ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของวัดเลียบและวัดใต้
(ที่ระลึกงานพระราชทานเพลิงศพ พระครูอมรวิสุทธิ์ (แดง อมโร) ๒๕๕๐: ๔๗-
๔๘) และอีกความหมายหนึ่งหมายถึง บูรพาจารย์ (พระครูอุบลธรรมวิศิษฐ์
๒๕๖๒: สัมภาษณ์) เพราะเป็นวัดที่มีพระบูรพาจารย์เคยพ�านักปฏิบัติธรรม
และเป็นเจ้าอาวาสหลายรูป อาทิ พระครูสีทา ชยเสโน พระครูวิเวกพุทธกิจ
(กนฺตสีโล เสาร์) หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต