Page 201 - วัฒนศิลปสาร ปีที่ ๑๕ (ตุลาคม ๒๕๖๒ - พฤษภาคม ๒๕๖๓) สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
P. 201
วัดในเขตอ�ำเภอเมืองอุบลรำชธำนี จังหวัดอุบลรำชธำนี 193
ซึ่งเป็นความจริงทุกประการแม้จะขาดทุนรอนหลายครั้งหลายคราก็ตาม (ค�าโพธิ์
ยุวมิตร ๒๕๒๔ : ๙๖)
๖.๑๐ ผึ้งมาท�ารังที่พระธาตุ ที่คานชั้นที่ ๖ เป็นรังขนาดใหญ่ยาว ๒ เมตร
เศษ เป็นเหตุให้คนงานไม่กล้าขึ้นไปท�าการก่อสร้าง ด้วยกลัวผึ้งจะต่อย กระทั่ง
วันที่ ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๑๐ นายค�าโพธิ์ ยุวมิตร ไม่ต้องการท�าปาณาติบาต
จึงแหงนหน้าแล้วพูดกับรังผึ้งอย่างทีเล่นทีจริงว่า “ผึ้งเอย บัดนี้พวกเราได้เงินมาส
ร้างพระธาตุต่อแล้ว ขอให้พวกเจ้าจงพากันอพยพ ไปท�ารังอยู่ที่อื่นเสียเถิด
เราเว้นจากการท�าปาณาติบาต เราจึงไม่ท�าร้ายกันและกัน ก็ได้ชื่อว่าร่วมกัน
สร้างด้วย รังผึ้งของพวกเจ้านี้ เราให้สัญญาว่า จะเอาไปหล่อเทียนชัย ฉลององค์
พระบรมธาตุให้พวกเจ้าได้บุญด้วย” สองวันต่อมา ผึ้งก็จากไปโดยทิ้งรังไว้ ดังที่
ท่านเขียนเล่าไว้ดังนี้
“...ได้เห็นผึ้งหมู่ใหญ่ฝูงนั้น ออกบินประทักษิณรอบองค์พระบรมธาตุ
จนอากาศบริเวณรอบยอดพระธาตุมืดครึ้มไปหมด เสียงกระหึ่มประหนึ่งเสียง
ฆ้องที่ตีแล้วปล่อยให้มีแต่เสียงกังวานฉันนั้น เมื่อฝูงผึ้งบินเป็นประทักษิณรอบ
พระบรมธาตุพอสมควรแล้ว ก็บินมุ่งหน้าไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ
ของวัด มุ่งสู่ดงก้านเหลืองต่อไป ข้าพเจ้าได้ยืนอวยชัยให้พรแก่ฝูงผึ้ง จนบินลับ
หายไป ทิ้งรวงผึ้งขาวสะอาด พร้อมทั้งน�้าผึ้งเต็มรังไว้ เป็นที่น่าอัศจรรย์ยิ่งนัก
ข้าพเจ้าได้สั่งให้คนงานเอามีดขึ้นไปเฉือนลงมาทั้งรัง ระวังไม่ให้ขาด ผูกเชือก
หย่อนลงมาด้วยความระมัดระวัง แล้วเอาผูกใส่ไม้ไผ่ไปแขวนโชว์ไว้บนศาลา
โรงธรรมตั้งหลายเดือนอย่างสวยงาม...ข้าพเจ้าก็ได้เอารังผึ้งนั้นไปหลอมเป็นแผ่น
ผึ้งไว้และต่อมาได้เอาไปให้ แม่ค�าหล้า ร้านทองบุญดี หล่อเป็นเทียนชัยฉลอง
พระบรมธาตุในปี ๒๕๑๒ นั่นเอง...” (ค�าโพธิ์ ยุวมิตร, ๒๕๕๖ : ๑๔๔ – ๑๔๕)
๖.๑๑ พญานาคฉัพยาปุตตะ สร้างเพื่อเป็นนาครักษาพระศาสนา
ประชาชนเชื่อกันว่า ท่านย่ากลีบมณีเกตุนาคิน เป็นพญานาคมาไหว้สักการะ
พระธาตุหนองบัวเสมอ มีผู้ถูกสลากกินแบ่งรัฐบาลหลายราย จากการมา