Page 202 - วัฒนศิลปสาร ปีที่ ๑๕ (ตุลาคม ๒๕๖๒ - พฤษภาคม ๒๕๖๓) สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
P. 202

194 วัดในเขตอ�ำเภอเมืองอุบลรำชธำนี จังหวัดอุบลรำชธำนี


          สักการะ พญานาค ในวันธรรมดา คนมาไหว้สม�่าเสมอ ของถวายมีดอกไม้ ผลไม้

          หรือตามแต่ศรัทธา สิ่งที่ขอเป็นเรื่องหน้าที่การงาน โชคลาภ ในระยะหลังได้มี
          การห้ามร่างทรงมาประทับ เพราะเกิดเหตุการณ์ไม่ส�ารวม ประชาชนจะมาสัก
          การะมาก ในช่วงวันศุกร์ เสาร์ อาทิตย์

          ๗. ความสัมพันธ์ระหว่างวัดกับชุมชน

               ๗.๑ ชุมชนที่อุปถัมภ์วัด ได้แก่ ชุมชนวัดพระธาตุหนองบัว ๑ – ๒ ชุมชน
          โปลี ๑ – ๒ และชุมชนเทศบาลหนองบัว

               ๗.๒ มีชาวบ้านมาถวายภัตตาหารเพลเป็นประจ�าทุกวัน
               ๗.๓ ช่างผู้มีชื่อเสียง ตระกูลจันทรวิจิตร ได้มาสร้างสรรค์ผลงานที่วัดแห่งนี้
          ตั้งแต่อดีต-ปัจจุบัน ได้แก่ ช่างหล้า จันทรวิจิตร ช่างอุส่าห์ จันทรวิจิตร

          และนายอธิวัฒน์ จันทวิจิตร โดยสร้างทั้งพระธาตุ ก�าแพงวัด และประตูโขงวัด
               ๗.๔ สถานที่บรรจุอัฐิบุคคลส�าคัญ อาทิ

                     - คุณพ่อค�าหล้า จันทรวิจิตร นายช่างผู้มีชื่อเสียงในการสร้าง
          ศาสนาคาร ลูกศิษย์พระครูวิโรจน์รัตโนบล (รอด นนฺตโร) วัดทุ่งศรีเมือง
                     - หลวงพ่อเสรี เตชธมฺโม

                     - คุณพ่ออุส่าห์ จันทรวิจิตร บุตรชายช่างหล้า จันทรวิจิตร นายช่าง
          ผู้มีชื่อเสียงในการสร้างศาสนาคาร และการแกะสลักเทียนพรรษา ท่านเป็นบุคคล

          ดีเด่นแห่งชาติ สาขาการช่างฝีมือ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย ปี ๒๕๓๒
          และครูภูมิปัญญาไทย รุ่นที่ ๕ (ที่ระลึกงานพระราชทานเพลิงศพ นายอุส่าห์
          จันทรวิจิตร ต�านานปราชญ์สุนทรียศิลป์ ศิลปินถิ่นอีสาน, ๒๕๕๔ : ๖ – ๗)

                     - รศ. ดร.มนัส วัฒนไชยยศ
                     - นายฟอง สิทธิธรรม (ภายหลังอุปสมบทได้ฉายาว่า ชินภูมิปตฺถโน

          ภิกขุ มรณภาพในสมณเพศ) – นางจันทร์มี สิทธิธรรม นายฟอง สิทธิธรรม มี
          ต�าแหน่งส�าคัญ ได้แก่ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดอุบลราชธานี อดีต
          รัฐมนตรีสั่งราชการกระทรวงศึกษาธิการ อดีตรัฐมนตรีสั่งราชการกระทรวง
   197   198   199   200   201   202   203   204   205   206   207