Page 200 - วัฒนศิลปสาร ปีที่ ๑๕ (ตุลาคม ๒๕๖๒ - พฤษภาคม ๒๕๖๓) สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
P. 200

192 วัดในเขตอ�ำเภอเมืองอุบลรำชธำนี จังหวัดอุบลรำชธำนี


               ๖.๖ ศาลาโรงธรรม หลังเดิมของวัด ใช้ไม้จากโรงแรมโพธิ์ทองเก่า มาสร้าง

          ส่วนกระเบื้องดินเผา ได้รับบริจาคจาก พระอธิการสุวโจ สิงห์ วัดใต้ เป็นกระเบื้อง
          ที่รื้อจากหอแจกหลังเก่าและกุฏิเก่า จ�านวน ๗,๐๐๐ แผ่น (ค�าโพธิ์ ยุวมิตร
          ๒๕๒๔ : ๒๓ – ๒๔)

               ๖.๗ นายทองพูน ยุวมิตร ได้สะเก็ดอิฐพระธาตุพนมองค์เดิม เมื่อไปกราบ
          สักการะพระธาตุพนม เมื่อวันที่ ๗ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๙๙ จึงได้อัญเชิญมาบรรจุ

          ที่พระบรมธาตุเจดีย์ศรีมหาโพธิ์ ท่านเล่าว่า “...ได้บังเอิญมีสะเก็ดพระธาตุตกลง
          มาให้ท่านสองแผ่น แผ่นละเท่าฝ่ามือใหญ่ ๆ เป็นสะเก็ดใหม่ ๆ มีทองปิดอยู่สี
          คร�่า ๆ นิดหน่อย...ท่านได้ไปซื้อผ้าเช็ดหน้าใหม่ ๆ ที่ร้าน มาห่อสะเก็ดพระธาตุ

          ไว้...” (ค�าโพธิ์ ยุวมิตร ๒๕๒๔ : ๔๑)
               ๖.๘ กระเบื้องลายครามเมืองจีน เคยปูที่ลานพระธาตุ มีความเป็นมาดังนี้

          “...กระเบื้องลายครามนี้เป็นวัตถุโบราณเมืองจีน เจ้าของเดิมชื่อ นายเสย-
          นายเชย นิตยสุทธิ์ เศรษฐีเมืองอุบล บ้านอยู่ริมน�้ามูล ถนนหลวง ท่าตลาดเก่า
          ท่านผู้นี้ซื้อมาจากเมืองจีน เพื่อประดับบ้าน เมื่อท่านถึงแก่กรรมลง นายกมล

          นิตยสุทธิ์ กับนางบรรจง ได้รับมรดกได้รื้อออกจากบ้านเพื่อมาเก็บรักษาไว้ และ
          ได้บอกบริจาคให้ นายทองพูน ยุวมิตร เพื่อน�าไปปูพื้นพระธาตุส่วนใดส่วนหนึ่ง

          ประมาณ ๔๐๐ แผ่น ต่อมาได้เอามาปูทางเข้านมัสการพระธาตุตรงประตู
          พระบรมธาตุทั้งสี่ด้าน ครั้นคณะกรรมการได้จ้างช่างมาลงหินขัด พื้นพระธาตุได้
          ให้ขัดทางเข้าประตูนี้ด้วย จ�าเป็นต้องรื้อกระเบื้องนี้ออก ครั้นรื้อแล้วก็มิได้เก็บ

          รักษาไว้ เป็นที่น่าเสียดาย ปัจจุบันเมื่ออาจารย์วิเชียร มาเป็นเจ้าอาวาส ได้มาท�า
          แท่นขึ้นที่ต้นโพธิ์ต้นที่สองนี้ ได้เอากระเบื้องลายครามนี้มาปูไว้สวยงามมาก...”

          (ค�าโพธิ์ ยุวมิตร ๒๕๒๔ : ๕๐)
               ๖.๙ พระครูญาณวิศิษฐ์ (ขนฺตยาคโม สิงห์) เป็นผู้ให้ฤกษ์และช่วยเหลือ
          ในการประกอบพิธีกรรมต่าง ๆ ได้กล่าวถึงการสร้างพระธาตุว่า “...ให้ท�าใหญ่ ๆ

          ให้แข็งแรงมั่นคงจึงจะเป็นมหากุศล จะเป็นบารมีและจะมีผู้ใจบุญมาช่วยสร้าง...”
   195   196   197   198   199   200   201   202   203   204   205