Page 199 - วัฒนศิลปสาร ปีที่ ๑๕ (ตุลาคม ๒๕๖๒ - พฤษภาคม ๒๕๖๓) สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
P. 199
วัดในเขตอ�ำเภอเมืองอุบลรำชธำนี จังหวัดอุบลรำชธำนี 191
จากประเทศอินเดียมาปลูกขึ้นใกล้กับพระธาตุ และต้นที่สาม นายทองพูน ยุวมิตร
ปลูกไว้ที่ทิศตะวันออก ริมถนนธรรมวิถี (ค�าโพธิ์ ยุวมิตร ๒๕๒๔ : ๕๐)
๖.๓ สร้างอุโบสถศาลา พ.ศ. ๒๕๓๕ ขณะนี้อยู่ระหว่างการรอตัดหวาย
ลูกนิมิต (พระครูอมรธรรมสโรช, สัมภาษณ์)
๖.๔ อาจารย์พุทธา จันทร์ประไพ หนึ่งในคณะผู้บุกเบิกสร้างวัดพระธาตุ
หนองบัว ได้เล่าถึงนิมิตระหว่างการปฏิบัติสมาธิภาวนาแก่คณะก่อนริเริ่มสร้างวัด
เมื่อวันที่ ๒๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๙๘ ว่า “...ในอาณาเขตที่จะสร้างวัดของเรานี้
มีผู้คนจ�านวนมากอาศัยอยู่ได้พากันอพยพโยกย้ายได้อุ้มลูกจูงหลาน พร้อมทั้งขน
ข้าวของและสัตว์เลี้ยงของตนออกเดินทางไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของ
ที่นี่ เพื่อย้ายไปอยู่ที่อื่นต่างก็โจดขานกันว่า ที่แห่งนี้อุบาสกเขาจะสร้างวัดพุทธ
ศาสนาพวกเราจงพากันหนีไปอยู่ที่อื่นเพื่ออนุโมทนาสาธุการและปรากฏว่าเขา
ไปอยู่ทางดงก้านเหลือง ซึ่งขณะนี้ทางราชการได้สร้างเป็นสวน “วนารมย์” เมื่อ
ได้ฟังนิมิตแล้วทุกคนต่างก็มีความยินดีต่อนิมิตนี้...” (ค�าโพธิ์ ยุวมิตร ๒๕๒๔ :
๑๘)
๖.๕ การถากถางพื้นที่เพื่อสร้างวัดได้อาศัยแรงงานจากประชาชนชาว
จังหวัดศรีสะเกษ และสุรินทร์ บุกเบิกด้วย ดังที่ประวัติวัดกล่าวว่า “...ปีนั้นเป็น
ปีฝนแล้ง ประชาชนชาวจังหวัดศรีสะเกษ – สุรินทร์ ไม่ได้ท�านาเป็นส่วนมาก
ต่างก็พากันมาหารับจ้างท�างานเป็นรายวัน จับกลุ่มกันเป็นพวก ๆ กลุ่มละห้าคน
บ้าง สิบคนบ้าง ลงมาหางานท�าทางจังหวัดอุบล เมื่อได้ทราบว่าที่วัดหนองบัวมี
การจ้างคนงานขุดโค่น ถากถาง ต่างก็ไปติดต่อขอท�างาน เป็นเหตุให้หาคนท�างาน
สะดวกมาก นายทองพูน ยุวมิตร ได้จ้างคนงานจ�าพวกนี้ขุดโค่นถากถางโดย
สะดวก ค่าแรงระหว่างนั้น คนหนึ่งวันละหกบาทถึงแปดบาทเท่านั้น นายทองพูน
ยุวมิตร ได้จ้างคนพวกนี้ขุดโค่นถากถางวันละประมาณสี่สิบถึงหกสิบคนเป็น
ประจ�า...” (ค�าโพธิ์ ยุวมิตร ๒๕๒๔ : ๑๙ – ๒๐) แต่ก�าชับไม่ให้ฆ่าสัตว์ทุกชนิด
แม้ว่าจะเป็นสัตว์มีพิษก็ตาม หากเผลอฆ่าจะโดนตัดค่าแรงลงครึ่งหนึ่ง