Page 228 - วัฒนศิลปสาร ปีที่ ๑๕ (ตุลาคม ๒๕๖๒ - พฤษภาคม ๒๕๖๓) สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
P. 228
220 วัดในเขตอ�ำเภอเมืองอุบลรำชธำนี จังหวัดอุบลรำชธำนี
- พระครูปลัดศรีอรุณ ญาณิสฺสโร (ค�าโท) ผู้ช่วยเจ้าอาวาส
ปี พ.ศ. ๒๕๖๒ มีพระภิกษุ ๑๑ รูป สามเณร ๔ รูป
ด้านการศึกษา มีโรงเรียนอุบลวิทยากร เป็นโรงเรียนการกุศลของ
วัดมณีวนาราม เปิดสอนถึงระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย
๔. ความส�าคัญ
๔.๑ เป็นวัดส�าคัญตามใบบอกเมืองอุบลราชธานีของพระยาราชเสนา
(ทัด ไกรฤกษ์) หลวงภักดีณรงค์ (สิน ไกรฤกษ์) ขุนพรพิทักษ์ (เคลือบ ไกรฤกษ์)
ได้นิมนต์พระภิกษุจากวัดนี้ไปเจริญพระพุทธมนต์และรับไทยธรรมที่ศาลากลาง
จังหวัด หลังเสร็จพิธีถือน�้าพระพิพัฒน์สัตยาของข้าราชการ ณ อุโบสถ
วัดหลวงเมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๘ เป็นเวลา ๓ วัน ดังความว่า “นิมลพระภิขุสงฆมหา
นิกายสิ้นทุกวัด คือ วัดหลวงวัดหนองยางวัดสว่างวัดเรียบวัดป่าน้อยวัดป่าไหญ่
วัดทุ่งวัดไต้วัดท่าวัดเหนือวัดกลางรวม ๑๑ วัด จ�านวนพระพิขุสงฆ ๑๖๓ รูป
เจริญพระพุทมลต์สมโพชพระบรมราชศาทิฉายาลักษณ์” (ใบบอก ร.๕ ม.๒.๑๒
ก/๓ [๖๙} ๒๔๒๘: ๑๒๑-๑๒๒)
๔.๒ เป็นวัดส�าคัญด้านการปกครองคณะสงฆ์มหานิกาย เป็นที่จ�าพรรษา
ของพระสังฆาธิการระดับชั้นต่าง ๆ เช่น รองเจ้าคณะภาค เจ้าคณะจังหวัด
เจ้าคณะอ�าเภอ เจ้าคณะต�าบล มาหลายยุคหลายสมัย เช่น พระอริยวงศาจารย์
ญาณวิมลอุบลสังฆปาโมกข์ พระธรรมเสนานี พระครูอาทรกิจโกศล พระกิตติ
ญาณโสภณ พระเทพวราจารย์
๔.๓ เป็นวัดที่มีโบราณสถานส�าคัญของชาติอยู่หลายแห่ง เช่น กุฏิพระอริย
วงศาจารย์ (กุฏิแดง) กุฏิธรรมระโต กุฏิใหญ่ ศาลาการเปรียญ
๔.๔ เป็นวัดส�านักเรียนเก่าแก่ของจังหวัดอุบลราชธานีมาแต่อดีตถึง
ปัจจุบัน
๔.๕ เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมือง ได้แก่ พระแก้วโกเมน
พระพุทธมณีรัตน์ (หลวงพ่อยิ้ม) พระพุทธมณีโชติ เป็นต้น