Page 230 - วัฒนศิลปสาร ปีที่ ๑๕ (ตุลาคม ๒๕๖๒ - พฤษภาคม ๒๕๖๓) สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
P. 230

222 วัดในเขตอ�ำเภอเมืองอุบลรำชธำนี จังหวัดอุบลรำชธำนี


               ๖.๓ การจัดการศพในสมัยก่อน ศพที่ตายโหงจะเก็บไว้ใกล้กุฏิศรีอักษร

          ๑-๒ ปีก่อนเผา เมื่อก่อนยังไม่มีเมรุก็เผาบนกองฟอน เมรุที่ใช้ในปัจจุบันนี้
          ผู้บริจาคเงินสร้างคือ สุริย์ เกาสายะพันธุ์
               ๖.๔ เจดีย์บูรพาจารย์ เมื่อถึงเดือนหก (เดือนพฤษภาคม) สมภารจะน�า

          พระเณรในวัดร่วมกันบังสุกุลอุทิศส่วนกุศลถวายแด่พระบูรพาจารย์ ตามคติ
          “อยู่ด้วยรอยมือรอยตีนบูรพาจารย์” สมัยก่อนธาตุบรรจุอัฐิในวัดสร้างไว้

          กระจัดกระจายไม่เป็นระเบียบ หลวงพ่อจูมได้ท�าพิธีบอกกล่าวแล้วย้ายธาตุเจดีย์
          มาอยู่เป็นกลุ่มกันในที่เดียว ระหว่างการปรับปรุงพื้นที่พบโกศทองแดง
          และโกศลายครามบรรจุอัฐิญาติโยมเป็นจ�านวนมากจึงรวบรวมมาบรรจุใหม่

          ที่บริเวณเจดีย์บูรพาจารย์อย่างเป็นระเบียบ
               ๖.๕ วัตรปฏิบัติของพระครูศรีพิริยกิจ (ทองลา เตชปญฺโญ) เป็นผู้น�า

          พระเณรสวดพระอภิธรรมมาแต่เดิม ก่อนจะมอบหน้าที่นี้ให้หลวงพ่อจูม
          มีท�านองสวดเฉพาะเรียกว่าสวดพระอภิธรรมท�านองวัดป่าน้อย หลวงปู่ทองลา
          พ�านักอยู่ที่กุฏิธรรมระโต ชอบอ่านนิตยสารดาราภาพยนตร์ อุปนิสัยท่าน

          ไม่เคยนินทาว่าร้ายผู้ใด มีค�าสอนว่า “ถ้าบ่เป็นพระอรหันต์ เรายังไม่หมดกิเลส
          อย่าไปด่าว่าเขา”

               ๖.๖ พระเถระผู้ใหญ่ในวัดที่ร่วมยุคกันคือ พระธรรมเสนานี (กิ่ง มหปฺผโล)
          เป็นเจ้าอาวาสพระครูอาทรกิจโกศล (ทอน กนฺตสีโล) เป็นรองเจ้าอาวาส
          พระครูศรีพิริยกิจ (ทองลา เตชปญฺโญ) เป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาส ทั้ง ๓ รูปนี้ ได้ท�า

          คุณประโยชน์แก่พระศาสนาในเมืองอุบลราชธานีไว้เป็นอย่างมาก
               ๖.๗ วัตรปฏิบัติของพระสงฆ์วัดมณีวนาราม เป็นแบบพระสงฆ์ไทย

          ได้แบบอย่างมาจากวัดสระเกศราชวรมหาวิหาร ในภาคกลาง ถือเป็นวัตรปฏิบัติ
          ต้นแบบของเมืองอุบลราชธานี
   225   226   227   228   229   230   231   232   233   234   235