Page 50 - วัฒนศิลปสาร ปีที่ ๑๕ (ตุลาคม ๒๕๖๒ - พฤษภาคม ๒๕๖๓) สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
P. 50
42 วัดในเขตอ�ำเภอเมืองอุบลรำชธำนี จังหวัดอุบลรำชธำนี
ส่วนฐานของพระอุโบสถมีโครงสร้างคล้ายฐานสิงห์ใน
ศิลปกรรมไทย แต่ลดทอนรายละเอียดให้สอดคล้องกับการประดับลวดบัว
แบบศิลปะตะวันตก มีบันไดขึ้นด้านหน้า ๒ ข้างและด้านหลัง ๒ ข้าง ข้างบันได
ด้านนอกประดับสิงโตหมอบปูนปั้นข้างละ ๑ ตัว รวมทั้งหมด ๔ ตัว มีก�าแพง
แก้วรอบพระอุโบสถ (ยุทธนาวรากร แสงอร่าม ๒๕๕๕: ๒๒-๒๕)
รูปแบบพระอุโบสถมีลักษณะผสมผสานระหว่างศิลปกรรมไทย
กับสถาปัตยกรรมตะวันตก ส่วนบนเป็นศิลปะไทยที่ได้รับอิทธิพลจีน ส่วนกลาง
เป็นศิลปะตะวันตก หลวงสถิตนิมานการ (ชวน สุปิยพันธ์) นายช่างก�ากับ
การก่อสร้างทางหลวงแผ่นดินสายวาริน-พิบูล-ช่องเม็ก (ถนนสถิตนิมานการ
หรือทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๗) เป็นสถาปนิกออกแบบ พระครูปลัด
สุวัฒนพรหมจริยคุณ (กสฺสโป ใช้) เป็นนายช่างอ�านวยการ พระครูประจักษ์
อุบลคุณ (ญาณาสโย สุ้ย) และพระครูวินัยธร (ปณฺฑโร บัวรี) เป็นผู้ช่วย
ผู้อ�านวยการ (ยุทธนาวรากร แสงอร่าม ๒๕๕๕: ๒๒) ได้รับพระราชทาน
วิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๖๗ ดังหลักฐานมีใจความว่า
“มีพระบรมราชโองการประกาศไว้แก่ชนทั้งปวงว่า ที่เขตพระอุโบสถ
วัดสุปัฏนาราม ต�าบลในเมือง อ�าเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี โดยยาว ๓ เส้น
กว้าง ๒ เส้น พระเทพเมธี เจ้าคณะมณฑลอุบลราชธานี ได้กราบบังคมทูล
พระกรุณาขอเป็นที่วิสุงคามสิมา พระเจ้าแผ่นดินสยามได้ทรงยินดีอนุโมทนา
อนุญาตแล้ว โปรดให้กรมการปักก�าหนดให้ตามประสงค์ พระราชอุทิศที่นั้นให้
เป็นที่วิสุงคามสิมา ยกเป็นแผนกหนึ่งต่างหากจากพระราชอาณาเขต เป็นที่วิเสศ
ส�าหรับพระสงฆ์มาแต่จาตุทิศทั้งสี่ท�าสังฆกรรมที่อุโบสถกรรม เป็นต้น
พระราชทานตั้งแต่ ณ วันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ พระพุทธศาสนกาล ๒๔๖๗ พรรษา
เป็นปีที่ ๑๕ ในรัชกาลปัตจุบันนี้ ฯะ (อักษรขอม)” และได้รับพระราชทานรางวัล
อาคารอนุรักษ์ดีเด่นประจ�าปีพุทธศักราช ๒๕๔๐ จากสมเด็จพระเทพรัตน
ราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โดยการคัดเลือกของสมาคมสถาปนิกสยาม