Page 51 - วัฒนศิลปสาร ปีที่ ๑๕ (ตุลาคม ๒๕๖๒ - พฤษภาคม ๒๕๖๓) สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
P. 51

วัดในเขตอ�ำเภอเมืองอุบลรำชธำนี จังหวัดอุบลรำชธำนี  43


            ในพระบรมราชูปถัมภ์ (ยุทธนาวรากร แสงอร่าม ๒๕๕๕: ๒๕) นอกจากนี้

            รูปทรงพระอุโบสถหลังนี้ยังเป็นแรงบันดาลใจให้วัดอื่น ๆ จ�าลองไปสร้างอุโบสถ
            ด้วย เช่น วัดหนองเป็ด บ้านหนองเป็ด อ�าเภอตาลสุม วัดสุภรัตนาราม
            บ้านค้อหวาง อ�าเภอวารินช�าราบ และวัดสุทัศนาราม อ�าเภอเมืองอุบลราชธานี

            (พระครูอุบลคณานุสิฐ ๒๕๖๒: สัมภาษณ์)
                        พระอุโบสถหลังนี้สร้างขึ้นใหม่แทนหลังเดิมที่สร้างในสมัยรัชกาล

            ที่ ๔ ซึ่งช�ารุดทรุดโทรม โดยสร้างให้พ้นจากแนวถนนและการกัดเซาะตลิ่ง
            แม่น�้ามูล ห่างจากที่ตั้งอุโบสถเดิมราว ๕ วา (๑๐ เมตร) เมื่อสร้างหลังใหม่เสร็จ
            จึงรื้อถอนหลังเดิม

                  ๒.๒ หอระฆัง
                        คณะข้าราชการจังหวัดอุบลราชธานีได้บริจาคบริจาคทรัพย์

            ๑๐,๐๐๐ บาท สร้างหอระฆังขึ้นโดยเสด็จพระราชกุศลสมทบกฐินพระราชทาน
            เมื่อวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๐๒ เป็นหอระฆังคอนกรีตเสริมเหล็ก ๒ ชั้น
            สูง ๑๐ เมตร กว้าง ๓ x ๓ เมตร (ยุทธนาวรากร แสงอร่าม ๒๕๕๕: ๒๖)

                  ๒.๓ หอปริยัติธรรม พันธุลเถระ
                        หอปริยัติธรรม พันธุลเถระ สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๖ เพื่อเป็นที่ระลึก

            แด่ท่านพนฺธุโล (ดี) เจ้าอาวาสรูปแรก เป็นอาคาร ๒ ชั้น คอนกรีตเสริมเหล็ก
            ขนาด ๙ x ๓๑ เมตร สิ้นค่าก่อสร้าง ๔๐๐,๐๐๐ บาท (ยุทธนาวรากร แสงอร่าม
            ๒๕๕๕: ๒๘)

                  ๒.๔ พระพุทธสัพพัญญูเจ้า
                        พระพุทธสัพพัญญูเจ้า พระประธานในพระอุโบสถ เป็นพระพุทธ

            รูปหล่อด้วยโลหะผสมขัดเงาปางมารวิชัย ขัดสมาธิราบ พระพักตร์รูปไข่
            พระนาสิกโด่ง พระเนตรเหลือบลงต�่า พระขนงโก่ง มีอุณาโลมที่หว่างพระขนง
            ขมวดพระเกศาเป็นก้นหอย พระรัศมีรูปเปลวเพลิงขนาดใหญ่ พระศอเป็นปล้อง

            ครองจีวรห่มเฉียง มีสังฆาฏิพาดพระอังสาซ้ายยาวจรดพระนาภี ชายสังฆาฏิเป็น
   46   47   48   49   50   51   52   53   54   55   56