Page 54 - วัฒนศิลปสาร ปีที่ ๑๕ (ตุลาคม ๒๕๖๒ - พฤษภาคม ๒๕๖๓) สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
P. 54
46 วัดในเขตอ�ำเภอเมืองอุบลรำชธำนี จังหวัดอุบลรำชธำนี
ได้ว่าสมเด็จพระมหาวีรวงศ์เคยตามเสด็จสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิร
ญาณวโรรสไปตรวจการคณะสงฆ์หัวเมืองมณฑลพิษณุโลกและอยุธยาเมื่อ
พ.ศ. ๒๔๕๗ คงจะประทับใจในความงามของพระพุทธชินราช จึงมีเรื่องเล่าว่า
ท่านได้ส่งคณะช่างขึ้นไปศึกษาพุทธลักษณะของพระพุทธชินราชที่วัดพระศรี
รัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร จ.พิษณุโลกก่อนสร้างพระพุทธสัพพัญญูเจ้า
(ร.อ. วราวุธ ผลานันต์ ๒๕๕๗: ๑๗)
๒.๕ พระบรมสารีริกธาตุ
พระบรมสารีริกธาตุนี้ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (ติสฺโส อ้วน)
เมื่อครั้งเป็นที่พระพรหมมุนี ครองวัดบรมนิวาส กรุงเทพมหานคร ให้อัญเชิญ
มาบรรจุไว้ที่พระเกศมาลาพระพุทธสัพพัญญูเจ้า และอีกส่วนหนึ่งบรรจุในผอบ
ทองค�าสองชั้น ประดิษฐานบนบุษบกในหอพระแก้วขาวเพชรน�้าค้าง
๒.๖ พระแก้วขาวเพชรน�้าค้าง
พระแก้วขาวเพชรน�้าค้างหรือพระแก้วเพชรน�้าค้าง เรียกสั้น ๆ
ว่า พระแก้วขาว เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ขัดสมาธิราบ แกะสลักจากแก้วผลึก
สีขาว ศิลปะล้านช้าง (บางท่านว่าเป็นศิลปะเชียงแสน) พระพักตร์ค่อนข้างกลม
พระนาสิกโด่ง พระเนตรเหลือบลงต�่า ครองจีวรห่มเฉียง พระอุระกว้าง
บั้นพระองค์คอด ทรงมงกุฎ กรองศอ พาหุรัด ทองกร ทองพระบาทท�าด้วยทองค�า
สลักลาย และสังวาลทองค�าประดับพลอยแดง ประทับบนฐานเงินบุลายบัวคว�่า
บัวหงาย ฐานล่างเป็นฐานสิงห์ (ยุทธนาวรากร แสงอร่าม ๒๕๕๕: ๓๗-๓๘)
ขนาดหน้าตักกว้าง ๗ ซม. (ไม่รวมเครื่องทรง) องค์พระสูง ๙.๕ ซม. สูงรวมฐาน
ถึงพระเมาลี ๑๙.๕ ซม. (ร.อ. วราวุธ ผลานันต์ ๒๕๕๗: ๓๙)
เมื่อราว พ.ศ. ๒๔๘๕ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (ติสฺโส อ้วน)
ได้ถวายพระแก้วขาวองค์นี้ให้เป็นสมบัติของวัดสุปัฏนารามวรวิหาร โดยพระธรรม
บัณฑิต (ญาณชาโล ญาณ ดาโรจน์) ขณะเป็นที่ พระครูปลัดพิพัฒนวิริยาจารย์
เป็นผู้รับมอบ (ยุทธนาวรากร แสงอร่าม ๒๕๕๕: ๓๙) พระวิบูลธรรมาภรณ์
(ชาคโร ชาย) เล่าถึงที่มาว่า สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (ติสฺโส อ้วน) ได้พระแก้วองค์นี้