Page 53 - วัฒนศิลปสาร ปีที่ ๑๕ (ตุลาคม ๒๕๖๒ - พฤษภาคม ๒๕๖๓) สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
P. 53
วัดในเขตอ�ำเภอเมืองอุบลรำชธำนี จังหวัดอุบลรำชธำนี 45
องค์พระประทับบนฐานปูนปั้นรูปบัวคว�่าบัวหงายรอบรับด้วยฐาน
สิงห์ เบื้องหลังมีเรือนแก้วปูนปั้นระบายสี โคนเรือนแก้วประดับรูปคชสีห์
แบบศิลปะรัตนโกสินทร์ (ช่างพื้นถิ่น) สูง ๒๓๐ ซม. หน้าตักกว้าง ๑๕๐ ซม.
(ยุทธนาวรากร แสงอร่าม ๒๕๕๕: ๓๒-๓๓) สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (ติสฺโส อ้วน)
ได้มอบพระบรมสารีริกธาตุให้บรรจุไว้ในพระเกศมาลาเมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๗ มีจารึกที่
พระเพลาซ้าย ใช้อักขรวิธีสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม ข้อความว่า “สมเด็จ
พระมหาวีรวงส์ (ติสฺโส อ้วน แสนทวีสุข) สังคนายกได้อันเชินพระบรมสารีริกธาตุ
ของสมเด็ดพระพุทธเจ้ามาบันจุไนพระพุทธสัพพัญญูเจ้านี้ วันที่ ๖ มิถุนายน
พ.ศ. ๒๔๘๗ ตรงกับวันวิสาขะบูชา นายฉลาด ส่งสรี ผู้จารึก” (ร.อ. วราวุธ ผลานันต์
๒๕๕๗: ๑๖)
สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (ติสฺโส อ้วน) เมื่อครั้งเป็นที่พระราชมุนี
เจ้าคณะมณฑลอุบลราชธานี เป็นประธานในการหล่อ หน้าตักกว้าง ๔ คืบพระสุคต
โดยร่วมกันทั้งฝ่ายอาณาจักรและพุทธจักร มีพระยาศรีธรรมศกราช (ปิ๋ว บุนนาค)
สมุหเทศาภิบาล เป็นหัวหน้า พระอุปัชฌาย์สีทา ชยเสโน วัดบูรพา เป็นนายช่าง
เริ่มหล่อเมื่อวันที่ ๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๕๙ ถึงวันที่ ๑๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๕๙
เวลา ๔.๐๓ นาฬิกา เททองเสร็จในวันนั้น ปลอดดีทุกส่วนไม่มีเสียหาย ใช้โลหะ
ทั้งสิ้น ๓๐ หาบ (๑,๘๐๐ กิโลกรัม) บริเวณที่ตั้งพิธีหล่อ ปัจจุบันปลูกต้น
พระศรีมหาโพธิ์ไว้ (ยุทธนาวรากร แสงอร่าม ๒๕๕๕: ๓๕)
พระพุทธสัพพัญญูเจ้ามีคุณลักษณะพิเศษ คือเวลาอากาศปกติใน
ฤดูร้อนและฤดูฝนองค์พระจะเป็นสีแดงอย่างสีนาก หากอากาศหนาวเย็นในฤดู
หนาวจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองอย่างสีทองค�าสุกปลั่งไปทั้งองค์ (ร.อ. วราวุธ ผลานันต์
๒๕๕๗: ๑๗) สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (ติสฺโส อ้วน) (๒๔๙๓: ๓๒๔) ได้กล่าวถึง
ความส�าคัญไว้ว่า “มีพระประธานหล่อด้วยทองสัมฤทธิ์มีน�้าหนัก ๓๐ หาบ
(เพราะหุ่นโอบขี้ผึ้งหนา) มีรูปทรงต้องด้วยพุทธลักษณะคล้ายพระพุทธชินราช
หรือพระพุทธชินสีห์ เป็นที่ตั้งแห่งความเลื่อมใสของพุทธศาสนิกชนทั่วไป” เป็นไป