Page 69 - วัฒนศิลปสาร ปีที่ ๑๕ (ตุลาคม ๒๕๖๒ - พฤษภาคม ๒๕๖๓) สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
P. 69

วัดในเขตอ�ำเภอเมืองอุบลรำชธำนี จังหวัดอุบลรำชธำนี  61


            เวียนไปทั้ง ๒๒ วัด เริ่มจากวัดมณีวนาราม สิ้นสุดที่วัดสุปัฏนารามวรวิหาร

            แห่งนี้เป็นล�าดับสุดท้าย

            ๕. ภาพประกอบ
                  ภาพประกอบถ่ายโดย ปกรณ์ ปุกหุต และณัฐพงค์ มั่นคง เมื่อวันที่ ๑๓

            มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๒

            ๖. เกร็ดเรื่องเล่าเกี่ยวกับวัด

                  ๖.๑ เมื่อแรกตั้งวัดเคยมีสิมน�้า (อุทกุกเขปสีมา) ซื่งคณะธรรมยุต
            เชื่อว่าการบรรพชาอุปสมบทในสิมน�้ามีความบริสุทธิ์ ปัจจุบันมีสิมน�้าจ�าลองที่
            แพท่าน�้าของวัด (พระครูอุบลคณานุสิฐ ๒๕๖๒: สัมภาษณ์)

                  ๖.๒ พระภิกษุสามเณรวัดสุปัฏนารามวรวิหารในยุคแรกมีวัตรปฏิบัติแบบ
            วัดป่า (พระครูอุบลคณานุสิฐ ๒๕๖๒: สัมภาษณ์)

                  ๖.๓ ต้นพระศรีมหาโพธิ์ ปลูกเมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๓ เป็นโพธิ์ลูกไม่ใช่
            โพธิ์กิ่ง ต�าแหน่งที่ปลูกอยู่ด้านทิศตะวันตกของสถานที่เททองหล่อพระพุทธ
            สัพพัญญูเจ้า เสมือนหนึ่งเป็นต้นพระศรีมหาโพธิ์ที่เจ้าชายสิทธัตถะประทับ

            ในคืนเพ็ญเดือนหกบรรลุสัมมาสัมโพธิญาณ ณ พุทธคยา ประเทศอินเดีย
            (พระครูอุบลคณานุสิฐ ๒๕๖๒: สัมภาษณ์)

                  ๖.๔ ช่วงสงครามมหาเอเชียบูรพา ญี่ปุ่นบุกเมืองอุบล ฝ่ายสัมพันธมิตร
            ทิ้งระเบิดใส่ทหารญี่ปุ่นลงที่พระอุโบสถวัดสุปัฏนารามวรวิหาร แต่ไม่เกิดความ
            เสียหาย เชื่อกันว่าพระพุทธสัพพัญญูเจ้าปัดระเบิดลงแม่น�้า ภายหลังน�าระเบิด

            มาท�ากระถางปลูกต้นไม้ ส่วนสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (ติสฺโส อ้วน) ไปหลบภัย
            ที่บ้านโพธิ์ บ้านแมด อ.วารินช�าราบ พระครูอุบลคณานุสิฐ (๒๕๖๒: สัมภาษณ์)

            เล่าว่าได้ฟังมาจากพระวิบูลธรรมาภรณ์
                  ๖.๕ วัตรปฏิบัติของพระสงฆ์วัดสุปัฏนารามวรวิหาร มีวัตรปฏิบัติแบบ
            มอญหรือธรรมยุต เรียกว่า พระคองมอญ ได้แบบอย่างมาจากวัดบวรนิเวศวิหาร
   64   65   66   67   68   69   70   71   72   73   74