Page 65 - วัฒนศิลปสาร ปีที่ ๑๕ (ตุลาคม ๒๕๖๒ - พฤษภาคม ๒๕๖๓) สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
P. 65

วัดในเขตอ�ำเภอเมืองอุบลรำชธำนี จังหวัดอุบลรำชธำนี  57


                        - พระพุทธรูปไม้แกะสลัก ปางมารวิชัย ขนาดหน้าตักกว้าง

            ๒๔ ซม. ฐานบนกว้าง ๒๗ ซม. ฐานล่างกว้าง ๓๗ ซม. สูงรวมฐาน ๖๘ ซม.
            มีฐาน ๓ ชั้น ชั้นที่ ๒ เป็นเท้าสิงห์ตามแบบธรรมาสน์ปาฏิโมกข์ของช่าง
            เมืองอุบลราชธานี (ร.อ. วราวุธ ผลานันต์ ๒๕๕๗: ๕๑)

                        - ตู้ขาหมูลายรดน�้า ขนาดสูง ๑๘๒ ซม. กว้าง ๑๑๕ ซม. ลึก ๘๒
            ซม. บานประตูกระจก ฝีมือช่างท้องถิ่นเมืองอุบลราชธานี (ร.อ. วราวุธ ผลานันต์

            ๒๕๕๗: ๖๑)

            ๓. ประวัติความเป็นมา
                  วัดสุปัฏนารามวรวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร สังกัด

            คณะสงฆ์ธรรมยุติกนิกาย มีเนื้อที่ ๒๑ ไร่ ๓ งาน ๑๐ ตารางวา โฉนดที่ดินเลขที่
            ๑๙๔๙ สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๓๙๖ มีอาณาเขตทิศตะวันออกจดถนนสุปัฏน์ ทิศเหนือ

            จดถนนพรหมราช ทิศตะวันตกจดถนนเบ็ญจะมะ และทิศใต้จดแม่น�้ามูล
                  พ.ศ. ๒๓๙๓ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าโปรด
            กระหม่อมให้ท่านพนฺธุโล (ดี) และท่านเทวธมฺมี (ม้าว) ไปสร้างวัดธรรมยุตที่เมือง

            อุบลราชธานี พร้อมด้วยคณะกรมการเมืองอุบลราชธานี มีพระพรหมราชวงศา
            (กุทอง) เจ้าเมืองอุบลราชธานีเป็นประธานจัดหาสถานที่ เมื่อปรึกษากันแล้ว

            เห็นว่า “ที่ท่าเหนือซึ่งตั้งอยู่ระหว่างเมืองกับบ้านบุ่งกาแซวเป็นที่สงัดเหมาะแก่
            ผู้ต้องการความสงัด และเป็นที่สะดวกแก่การโคจรบิณฑบาตจะไปในเมือง
            ก็ไม่ไกล จะไปบ้านบุ่งกาแซวก็ไม่ห่าง จะไปทางบก ทางน�้าก็ง่ายดาย เพราะว่า

            อยู่ริมแม่น�้ามูลฝั่งซ้ายทางทิศตะวันตกของเมือง เป็นท่าที่ดีอยู่คุ้ง น�้าก็ลึก
            เข้าออกสดวก” (พระพรหมมุนี ๒๔๗๘: ๒๐) จึงได้ปรับที่สร้างวัด ก�าหนดด้าน

            กว้างและยาวเท่ากันด้านละ ๓ เส้นเศษ ภายหลังมีผู้ถวายที่เพิ่มอีก พระบาท
            สมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ ๑๐ ชั่ง
            (๘๐๐ บาท) เพื่อสร้างอุโบสถ ให้มีผู้ปฏิบัติวัด (เลขวัด) ๖๐ คน (ชายฉกรรจ์

            ที่อุทิศถวายให้ท�างานวัด  ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียส่วยและภาษีอากร)
   60   61   62   63   64   65   66   67   68   69   70