Page 68 - วัฒนศิลปสาร ปีที่ ๑๕ (ตุลาคม ๒๕๖๒ - พฤษภาคม ๒๕๖๓) สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
P. 68

60   วัดในเขตอ�ำเภอเมืองอุบลรำชธำนี จังหวัดอุบลรำชธำนี


          สงฆธรรมยุติกาวัดสุปัตวัดสีทองวัดไชรวัดสุทัศสิ้นในเมืองอุบลราชธานี รวม

          พระภิขุสงฆธรรมยุติกา ๕๔ รูปสวดพระพุทมลต์” (ใบบอก ร.๕ ม.๒.๑๒ ก/๓
          [๖๙} ๒๔๒๘: ๑๒๑-๑๒๒)
               ๔.๒ พระพรหมราชวงศา (กุทอง) เจ้าเมืองอุบลราชธานีท่านที่ ๓ เป็น

          ผู้สร้างวัดสุปัฏนารามวรวิหาร
               ๔.๓ เป็นพระอารามหลวงแห่งแรกของจังหวัดอุบลราชธานี

               ๔.๔ เป็นศูนย์กลางการปกครองคณะสงฆ์ธรรมยุต เป็นที่จ�าพรรษาของ
          พระเถระฝ่ายธรรมยุติกนิกายจ�านวนมาก เช่น พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (สิริจนฺโท
          จันทร์) สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (ติสฺโส อ้วน) เจ้าคณะมณฑล เจ้าคณะจังหวัด และ

          เป็นสถานที่เล่าเรียนพระปริยัติธรรมของพระภิกษุสามเณร
               ๔.๕ เป็นที่ประดิษฐานปูชนียวัตถุส�าคัญ อาทิ พระพุทธสัพพัญญูเจ้า

          พระบรมสารีริกธาตุ พระแก้วขาวเพชรน�้าค้าง พระพุทธรูปศิลานาคปรก
          ตลอดจนเก็บรักษาโบราณวัตถุและศิลปวัตถุของชาติไว้เป็นจ�านวนมาก
               ๔.๖ เป็นที่ตั้งโรงเรียนอักษรไทยแห่งแรกในจังหวัดอุบลราชธานี คือ

          โรงเรียนอุบลวิทยาคม ต่อมาเป็นโรงเรียนอุบลวิชาคม และโรงเรียนสมเด็จ
          ในปัจจุบัน

               ๔.๗ เป็นสถานที่ถือน�้าพระพิพัฒน์สัตยาของข้าราชการในจังหวัด
          อุบลราชธานี และสถานที่ท�าน�้าอภิเษกของจังหวัดอุบลราชธานีในรัชกาลที่ ๖,
          ๗ และ ๑๐

               ๔.๘ เป็นวัดที่ชาวไทยเชื้อสายเวียดนามนิยมมาประกอบพิธีศพ เพราะมี
          ชุมชนชาวไทยเชื้อสายเวียดนามอาศัยอยู่หนาแน่นใกล้วัด

               ๔.๙ เป็นวัดแรกในจังหวัดอุบลราชธานีที่มีฌาปนสถาน สร้างเมื่อ พ.ศ.
          ๒๔๗๙
               ๔.๑๐ วัดสุปัฏนารามวรวิหารเป็นหนึ่งใน ๒๒ วัดที่จัดเทศน์ธรรมัสสวนะ

          สามัคคีของเมืองอุบลราชธานีในช่วงเข้าพรรษา ซึ่งเริ่มขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๘ โดย
   63   64   65   66   67   68   69   70   71   72   73