Page 66 - วัฒนศิลปสาร ปีที่ ๑๕ (ตุลาคม ๒๕๖๒ - พฤษภาคม ๒๕๖๓) สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
P. 66

58   วัดในเขตอ�ำเภอเมืองอุบลรำชธำนี จังหวัดอุบลรำชธำนี


          และพระราชทานนิตยภัตเดือนละ ๘ บาทแก่เจ้าอาวาส พระราชทานนามว่า

          วัดสุปัฏนาราม ค�าว่าสุ แปลว่าดี งาม ง่าย และค�าว่าปัฏนะ แปลว่าท่าเรือ
          สุปัฏน์จึงแปลว่าท่าเรือดี ซึ่งน่าจะหมายถึงเป็นท่าที่ดีที่จะอ�านวยความสะดวก
          ให้มนุษย์ข้ามพ้นโอฆสงสารได้ด้วยดี

               วัดสุปัฏนารามได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาครั้งที่ ๒ เพื่อสร้างอุโบสถ
          หลังใหม่เมื่อวันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๖๗ กว้าง ๑๐ วา ยาว ๑๐ วา ประกอบ

          พิธีผูกพัทธสีมาเมื่อวันที่ ๑๒ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๙ ได้รับการยกฐานะวัด
          ขึ้นเป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหารเมื่อวันที่ ๒๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๙
          กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนวัดสุปัฏนารามวรวิหารเป็นโบราณสถาน

          ส�าหรับชาติในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๕๓ หน้า ๑๕๓๓ วันที่ ๒๗ กันยายน
          ๒๔๗๙

               เจ้าอาวาส เจ้าอาวาสวัดสุปัฏนารามวรวิหาร นับถึง พ.ศ. ๒๕๖๒ มี
          ๑๔ รูป ดังนี้
                     ๑) พระอธิการดี พนฺธุโล ครองวัด พ.ศ. ๒๓๙๖-๒๔๐๖

                     ๒) พระอธิการเพ็ง (ต่อมาลาสิกขา)
                     ๓) พระอธิการเพชร

                     ๔) พระอธิการสีโห ก่อนอุปสมบทรับราชการมีบรรดาศักดิ์ที่
          หลวงคุณสารศรีสุปัฏน์
                     ๕) พระอธิการศรี หรือพระอธิการสี

                     ๖) พระญาณรักขิต (สิริจนฺโท จันทร์ สุภสร ป.ธ.๔) ครองวัด พ.ศ.
          ๒๔๔๐-๒๔๔๖

                     ๗) พระศาสนดิลก (ติสฺโส อ้วน แสนทวีสุข ป.ธ.๕) ครองวัด พ.ศ.
          ๒๔๔๗-๒๔๖๙
                     ๘) พระครูประจักษ์อุบลคุณ (ญาณาสโย สุ้ย) ครองวัด พ.ศ.

          ๒๔๗๐-๒๔๘๗
   61   62   63   64   65   66   67   68   69   70   71