Page 78 - วัฒนศิลปสาร ปีที่ ๑๕ (ตุลาคม ๒๕๖๒ - พฤษภาคม ๒๕๖๓) สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
P. 78

70   วัดในเขตอ�ำเภอเมืองอุบลรำชธำนี จังหวัดอุบลรำชธำนี


          และเป็นหนึ่งในของดีเมืองอุบลตามค�าโบราณว่า “พระบทม์วัดกลาง พระบาง

          วัดใต้ หอไตรวัดทุ่ง” และ “จั่งแม่นงามปานพระบทม์” พระเจ้าใหญ่พระบทม์
          เป็นพระประธานในวิหารเก่าและพระประธานในวิหารหลังปัจจุบันของวัดกลาง
          (พระครูวิสิฐพัฒนาภรณ์ ๒๕๕๗: ๕)

               ๒.๓ หีบพระธรรม
                     หีบพระธรรมของวัดกลางมี ๒ ใบ สภาพช�ารุดเพราะปลวก

          หีบพระธรรมใบที่ ๑ เขียนลายรดน�้า เหลือเพียงตัวหีบกับฝา ลายรดน�้าได้รับ
          อิทธิพลจากศิลปะอยุธยา แต่การเขียนไม่ถมช่องไฟซึ่งเป็นลักษณะที่พบเห็นทั่วไป
          ในภาคอีสาน เช่น จ. มหาสารคาม จ. ขอนแก่น หีบพระธรรมใบที่ ๒ เขียนลาย

          รดน�้าแบบไม่ถมช่องไฟเหมือนกันกับใบที่ ๑ ยังเหลือตัวหีบ ฐานและฝา
          ลวดลายขดสานกันแบบศิลปะลาว ลวดลายฝาเป็นรูปเทพพนมคล้ายกันกับ

          หีบพระธรรมในหอศิลป์ราชธานีศรีวนาลัย วิทยาลัยอาชีวศึกษาอุบลราชธานี
               ๒.๔ เม็ง
                     เม็งหรือธรรมาสน์ปาฏิโมกข์ ศิลปะช่างเมืองอุบลราชธานี จ�านวน

          ๒ หลัง มีพนักพิงรูปใบเสมา ที่ด้านหลังมีจารึกอักษรบนแผ่นโลหะระบุผู้สร้าง
          และปีสร้างว่า “อุตรายะสา ธรรมาสน์นิมิต เริ่มคิดโดย พระมหามณี ธมฺมจนฺโท

          และพระภิกษุสามเณร  ประกอบด้วยอุบาสกอุบาสิกา  ผู้บริจาคทรัพย์
          และความคิด ก�าลังกาย ก่อสร้างถวายเป็นพุทธบูชาในพระพุทธสาสนา ณ วัดกลาง
          เมืองอุบลราชธานี แต่เดือนสิบเอ็ด ปีขาน ตรงกับเดือนตุลาคม พุทธศักราช

          ๒๔๘๑ ขอความสุขสวัสดี จงมีแก่ท่าน สิ้นกาลนาน”
                     พระครูวิสิฐพัฒนาภรณ์ (๒๕๖๒: สัมภาษณ์) ให้ความเห็นว่า

          ธรรมาสน์ปาฏิโมกข์นี้อาจเป็นของญาท่านกัญญา ส่วนพนักพิงท�าเพิ่มสมัย
          หลวงพ่อมณีก็เป็นได้
   73   74   75   76   77   78   79   80   81   82   83