Page 81 - วัฒนศิลปสาร ปีที่ ๑๕ (ตุลาคม ๒๕๖๒ - พฤษภาคม ๒๕๖๓) สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
P. 81

วัดในเขตอ�ำเภอเมืองอุบลรำชธำนี จังหวัดอุบลรำชธำนี  73


            ๔. ความส�าคัญ

                  ๔.๑ เป็นวัดส�าคัญตามใบบอกเมืองอุบลราชธานีของพระยาราชเสนา
            (ทัด ไกรฤกษ์) หลวงภักดีณรงค์ (สิน ไกรฤกษ์) ขุนพรพิทักษ์ (เคลือบ ไกรฤกษ์)
            มีการนิมนต์พระภิกษุจากวัดนี้ไปเจริญพระพุทธมนต์และรับไทยธรรม
            ที่ศาลากลางจังหวัดหลังเสร็จพิธีถือน�้าพระพิพัฒน์สัตยาของข้าราชการ

            ณ อุโบสถวัดหลวงเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๒๘ เป็นเวลา ๓ วันดังข้อความว่า “นิมล
            พระภิขุสงฆมหานิกายสิ้นทุกวัด คือวัดหลวงวัดหนองยางวัดสว่างวัดเรียบ
            วัดป่าน้อยวัดป่าไหญ่วัดทุ่งวัดไต้วัดท่าวัดเหนือวัดกลางรวม ๑๑ วัด จ�านวน

            พระพิขุสงฆ ๑๖๓ รูป เจริญพระพุทมลต์สมโพชพระบรมราชศาทิฉายาลักษณ์”
            (ใบบอก ร.๕ ม.๒.๑๒ ก/๓ [๖๙} ๒๔๒๘: ๑๒๑-๑๒๒)
                  ๔.๒ เจ้าราชวงศ์ (ก�่า) หนึ่งในกรมการเมืองอุบลราชธานีหรืออาญาสี่เป็น

            ผู้สร้างวัดกลาง ต่อมาเป็นที่พระเทพวงศา (ก�่า) เจ้าเมืองเขมราฐคนแรก
                  ๔.๓ เป็นที่จ�าพรรษาของพระเถระผู้มีชื่อเสียง อาทิ พระศรีธรรมโศภณ
            (ปรีชา ปริญฺญาโณ พิณทอง ป.ธ.๙)

                  ๔.๔ เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปคู่บ้านคูเมือง คือ พระเจ้าใหญ่พระบทม์
                  ๔.๕ วัดกลางเป็นหนึ่งใน ๒๒ วัดที่มีการเทศน์ธรรมัสสวนะสามัคคีของ
            เมืองอุบลราชธานี ในช่วงเข้าพรรษา ซึ่งเริ่มขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๘ โดยเวียนไป

            ทั้ง ๒๒ วัด เริ่มจากวัดมณีวนาราม สิ้นสุดที่วัดสุปัฏนารามวรวิหาร เป็นงานบุญ
            เฉพาะของเมืองอุบลราชธานี

            ๕. ภาพประกอบ

                  ภาพประกอบถ่ายโดย ปกรณ์ ปุกหุต และณัฐพงค์ มั่นคง เมื่อวันที่ ๑๖,
            ๒๔, ๓๐ มกราคม ๒๕๖๒ และ ๒ มีนาคม ๒๕๖๒
   76   77   78   79   80   81   82   83   84   85   86