Page 79 - วัฒนศิลปสาร ปีที่ ๑๕ (ตุลาคม ๒๕๖๒ - พฤษภาคม ๒๕๖๓) สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
P. 79
วัดในเขตอ�ำเภอเมืองอุบลรำชธำนี จังหวัดอุบลรำชธำนี 71
๒.๕ คัมภีร์ใบลาน
วัดกลางเป็นส�านักเรียนใหญ่ในอดีตเคยมีคัมภีร์ใบลานเป็น
จ�านวนมาก แต่ถูกปลวกท�าลายไปไม่น้อย ปัจจุบันจึงเหลือคัมภีร์ของเก่า
จ�านวนไม่มาก เก็บรักษาไว้ร่วมกับคัมภีร์ภาษาไทยมีจ�านวน ๒ ตู้ มีคัมภีร์
ใบลานอักษรขอม ปกหน้าและปกหลังเขียนสีตกแต่งลวดลายอย่างงดงาม ๒ ลาน
๓. ประวัติความเป็นมา
วัดกลางเป็นวัดราษฎร์ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย มีเนื้อที่ ๗ ไร่ ๑ งาน
๒๒ ตารางวาเศษ (เจ็ดไร่ หนึ่งงาน ยี่สิบสองเศษสองส่วนสิบตารางวา)
อาณาเขตทิศเหนือจดถนนพรหมราช ทิศตะวันออกจดซอยพรหมราช ๓ ทิศใต้
จดแม่น�้ามูล และทิศตะวันตกจดถนนราชวงศ์
ผู้สร้างวัดกลาง คือเจ้าราชวงศ์ (ก�่า) หนึ่งในอาญาสี่ของเมืองอุบลราชธานี
(ต่อมาเป็นที่พระเทพวงศา เจ้าเมืองเขมราฐคนแรก) ได้เลือกพื้นที่ริมแม่น�้ามูล
สร้างวัดขึ้นพร้อมกับราษฎรเมื่อราว พ.ศ. ๒๓๓๖ หลังจากที่พระประทุมวรราช
สุริยวงศ์ (เจ้าค�าผง) สร้างวัดหลวงไม่นาน เหตุที่ชื่อวัดกลางเพราะอยู่กลาง
ระหว่างเหนือแม่น�้ากับใต้แม่น�้ามูลที่ไหลผ่านเมืองอุบลราชธานี ทางเหนือ
แม่น�้ามูลมีวัดเหนือท่า และทางใต้แม่น�้ามูลมีวัดใต้ท่า
วัดกลางเป็นส�านักเรียนพระปริยัติธรรมขนาดใหญ่มาแต่อดีต มีพระมหา
เถระที่มีความรู้แตกฉาน เช่น อาชญาท่านเจ้าหลักธรรม (จันทร์) อาชญาท่านกัญญา
พระศรีธรรมโศภณ (ปรีชา ปริญฺญาโณ) ที่ไปอยู่กรุงเทพมหานครก็มีไม่น้อย เช่น
พระมหาชัยวัฒน์ไปอยู่วัดปทุมคงคา
เจ้าอาวาส เจ้าอาวาสวัดกลางนับถึงปี พ.ศ. ๒๕๖๒ มี ๑๒ รูป ดังนี้
๑) อาชญาท่านเจ้าหลักธรรม (จันทร์) เป็นผู้แตกฉานใน
พระไตรปิฎกร่วมยุคสมัยกับอาชญาท่านหอ แก้ว วัดหลวง สมัยตั้งเมือง
อุบลราชธานี ครองวัด พ.ศ. ๒๓๓๖