Page 91 - วัฒนศิลปสาร ปีที่ ๑๕ (ตุลาคม ๒๕๖๒ - พฤษภาคม ๒๕๖๓) สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
P. 91
วัดในเขตอ�ำเภอเมืองอุบลรำชธำนี จังหวัดอุบลรำชธำนี 83
วัดแจ้ง
๑. ที่ตั้ง
ถนนนครบาล-ถนนสรรพสิทธิ์ ต�าบลในเมือง อ�าเภอเมืองอุบลราชธานี
จังหวัดอุบลราชธานี
พิกัด (UTM หรือละติจูด/ลองจิจูด) ๑๕.๒๓๖๖๘๔, ๑๐๔.๘๖๐๑๐๑
๒. ประเภทแหล่งศิลปกรรม โบราณสถานและโบราณวัตถุ
วัดแจ้ง มีเสนาสนะและอาคารต่าง ๆ ได้แก่ สิม หอแจก (ศาลาการเปรียญ)
กุฏิ ศาลาบ�าเพ็ญกุศล ประตูโขง ๔ ประตู (ทิศตะวันออก ทิศตะวันตก ทิศเหนือ
และทิศใต้) อาคารชมรมผู้สูงอายุวัดแจ้ง และธาตุบรรจุอัฐิ
เดิมวัดแจ้งมีพระพุทธรูปโบราณประดิษฐานในอุโบสถหลายองค์ แต่ได้ถูก
โจรกรรมไป ได้แก่ ครั้งที่ ๑ พระพุทธรูปส�าริดปางสมาธิจ�านวน ๓ องค์
ครั้งที่ ๒ พระพุทธรูปปางห้ามญาติ หลวงพ่ออวม วัดสามเสน กรุงเทพฯ
น�ามาถวาย ในสมัยรัชกาลที่ ๕ ครั้งที่ ๓ พระพุทธรูปส�าริดปางมารวิชัย หน้าตัก
กว้าง ๕๐ นิ้ว หลวงพ่อมหาศรีถา (สีทาหรือสีดา) และหลวงพ่อมหาเสนาหล่อ
มาถวายเมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๗-๒๔๗๘ สมัยหลวงพ่อมั่น อานันโทเป็นเจ้าอาวาส
โบราณสถาน โบราณวัตถุและศิลปวัตถุที่ส�าคัญมี ดังนี้
๒.๑ สิม
สิมหรืออุโบสถเป็นสิมทรงท้องถิ่นอีสานอิทธิพลศิลปะรัตนโกสินทร์
ก่ออิฐถือปูน ผังสี่เหลี่ยมผืนผ้าบนฐานเอวขัน หันหน้าไปทางทิศตะวันออก ขนาด
๔ ห้อง กว้าง ๖ เมตร ยาว ๑๕ เมตร สูง ๑๐ เมตร เสาไม้ตั้งสอบเข้าเล็กน้อย
หลังคาจั่วต่อหลังคาปีกนกด้านข้างทั้งสองข้าง ประดับช่อฟ้าเป็นนาคปูนปั้น
ใบระกาเป็นไม้แกะสลัก และหางหงส์เป็นไม้แกะสลักรูปนาคมีปีก เดิมมุงด้วย
แป้นเกล็ด ต่อมาเปลี่ยนเป็นกระเบื้องดินเผาไม่เคลือบ มีบันไดทางขึ้นที่กลาง
ด้านหน้า ราวบันไดเป็นรูปจระเข้ปูนปั้น มีประตู ๑ ช่องตรงกับบันได มีหน้าต่าง