Page 94 - วัฒนศิลปสาร ปีที่ ๑๕ (ตุลาคม ๒๕๖๒ - พฤษภาคม ๒๕๖๓) สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
P. 94
86 วัดในเขตอ�ำเภอเมืองอุบลรำชธำนี จังหวัดอุบลรำชธำนี
๒.๕ หีบพระธรรม
หีบพระธรรมทรงลุ้ง ลายรดน�้าเรื่องสีทน มะโนราและรามเกียรติ์
ประกอบลายกระหนกเปลวและเครือเถาใบเทศ
๒.๖ ฮางหดสรง
ฮางหดสรงเป็นของเก่าคู่วัดมาแต่เดิม ดังปรากฏในภาพถ่ายงาน
ศพแม่ใหญ่ทวดก้อน พันธุ์เพ็ง แต่ทาสีใหม่ ปัจจุบันยังมีการใช้งาน ตัวนาคมี
ลักษณะศิลปะแบบอุบลผสมกับแบบจ�าปาสัก
๓. ประวัติความเป็นมา
วัดแจ้งเป็นวัดราษฏร์ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย มีเนื้อที่ ๑๘ ไร่ ๕๙ ๖/๑๐
ตารางวา มีอาณาเขตทิศเหนือจดถนนสุริยาตร์ ทิศตะวันตกจดซอยหลังวัดแจ้ง
ทิศใต้จดถนนสรรพสิทธิ์ และทิศตะวันออกจดถนนนครบาล เจ้าราชบุตร
(หนูค�า บุตโรบล) หนึ่งในอาญาสี่ผู้ปกครองเมืองอุบลราชธานีเป็นผู้สร้างราว
พ.ศ. ๒๔๑๘ หลังจากสร้างวัดทองนพคุณ โดยถวายที่สวนของท่านเพื่ออุทิศแด่
นางทอง ผู้เป็นมารดา พร้อมกับสร้างพระประธานไว้ในหอแจก และสร้าง
อูบมูงบรรจุอัฐิบรรพบุรุษ
ที่มาของชื่อวัดแจ้ง สันนิษฐานว่ามาจากการแจ้งในบุญกุศลของ
เจ้าราชบุตร (หนูค�า) หลังการสร้างวัดนี้อุทิศให้มารดา ซึ่ง นิล พันธุ์เพ็ง (๒๔๗๗:
๑๓๕) กล่าวว่า “ด้วยเหตุที่สนองคุณมารดาแล้ว มีน�้าใจอันบริสุทธิ์ผ่องแผ้ว
เมื่อสร้างวัดนี้เสร็จจึงให้นามว่าวัดแจ้ง” ส่วน บ�าเพ็ญ ณ อุบล (๒๕๕๓: ๑๕๒)
เห็นว่าที่สวนของเจ้าราชบุตร (หนูค�า) อยู่ทางทิศเหนือของเมือง เดินจากคุ้ม
ในเมืองตอนเช้ามืดมาถึงก็สว่างหรือแจ้งพอดี จึงตั้งชื่อว่า วัดแจ้ง
เจ้าอาวาส เจ้าอาวาสวัดแจ้ง พ.ศ. ๒๔๑๘-๒๔๓๐ ไม่ทราบนาม จากนั้น
มาถึง พ.ศ. ๒๕๖๒ มี ๘ รูป ดังนี้