Page 92 - วัฒนศิลปสาร ปีที่ ๑๕ (ตุลาคม ๒๕๖๒ - พฤษภาคม ๒๕๖๓) สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
P. 92
84 วัดในเขตอ�ำเภอเมืองอุบลรำชธำนี จังหวัดอุบลรำชธำนี
ด้านข้างด้านละ ๓ ช่อง โถงด้านหน้ามีเสากลม ๔ ต้นรองรับหน้าบันไม้แกะสลัก
ประดับกระจกรูปพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณขนาบข้างด้วยสิงห์ แผงแรคอสอง
ใต้หน้าบันแกะสลักประดับกระจกรูปดอกไม้ทรงกลมเรียงกัน ๓ ดอก รวงผึ้ง
แกะสลักประดับกระจกรูปกอบัวสัญลักษณ์เมืองอุบลราชธานี ๒ กอ หน้าอุด
ปีกนกแกะสลักประดับกระจกลายพันธุ์พฤกษา คันทวยไม้แกะสลักประดับ
กระจกรูปนาคมีปีกด้านละ ๕ คันทวย มีพระพุทธชินราชจ�าลองเป็นพระประธาน
(ห้างหุ้นส่วนจ�ากัด ปุราณรักษ์ ๒๕๖๑: ๔-๕)
สิมหลังนี้สร้างราว พ.ศ. ๒๔๕๕ โดยญาท่านเพ็งหรือญาครูเพ็ง
ศิษย์ของพระมหาราชครูท่านหอ วัดหลวง บูรณะมาแล้ว ๖ ครั้งตั้งแต่ พ.ศ.
๒๔๙๕-๒๕๖๑ กรมศิลปากรประกาศขึ้นทะเบียนและก�าหนดเป็นเขตที่ดิน
โบราณสถานวัดแจ้งในราชกิจจานุเบกษา วันที่ ๒๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๓
เนื้อที่ประมาณ ๑ ไร่ ๑ งาน ๔๙ ตารางวา สิมวัดแจ้งได้รับรางวัลอนุรักษ์ศิลปะ
สถาปัตยกรรมดีเด่นของสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ จากสมเด็จ
พระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๐ กรมศิลปากร
ได้จัดสรรงบประมาณ (งบเงินเหลือจ่าย) พ.ศ. ๒๕๖๑ ให้แก่ส�านักศิลปากรที่ ๙
อุบลราชธานีด�าเนินการบูรณะแล้วเสร็จในปี พ.ศ. ๒๕๖๒
๒.๒ พระเจ้าใหญ่ พระประธานในหอแจก
พระเจ้าใหญ่พระประธานในหอแจกเป็นพระพุทธรูปปูนปั้นปิดทอง
ปางมารวิชัย ศิลปะพื้นถิ่นอีสาน พระพักตร์ค่อนข้างเหลี่ยม เม็ดพระศกเล็ก
พระรัศมีเป็นกาบบัวทรงสูง พระขนงก่งมาก พระเนตรเรียวเล็กเหลือบมองต�่า
พระนาสิกใหญ่เป็นสัน ริมพระโอษฐ์หนาปลายหยักขึ้น ปลายพระกรรณไม่จรด
พระอังสาและไม่ใหญ่ พระศอเป็นปล้อง ครองจีวรห่มเฉียง พระครูสุตจันทโสภณ
เชื่อว่าเป็นพระพุทธรูปที่สร้างพร้อมวัดใน พ.ศ. ๒๔๑๘ (ห้างหุ้นส่วนจ�ากัด ปุราณ
รักษ์ ๒๕๖๑: ๗)