Page 93 - วัฒนศิลปสาร ปีที่ ๑๕ (ตุลาคม ๒๕๖๒ - พฤษภาคม ๒๕๖๓) สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
P. 93
วัดในเขตอ�ำเภอเมืองอุบลรำชธำนี จังหวัดอุบลรำชธำนี 85
๒.๓ พระพุทธรูปทองค�า
พระพุทธรูปทองค�า ๓ องค์ขนาด ๕ นิ้ว บรรจุไว้บนผนังของหอ
แจกมีลูกกรงกั้นไม่สามารถมองเห็นได้ ด้านบนมีจารึกอักษรไทย ๙ บรรทัดว่า
“พระพุทธรูปทองค�า ๓ องค์นี้เป็นของคุณปู่ขุนสนิทอักษรศรี (สนิท ทองทาบ)
และคุณย่าพั่ว ทองทาบ ได้ฝากไว้กับญาถ่านมั่น เจ้าอาวาสวัดแจ้ง เมื่อ พ.ศ.
๒๔๗๖ จนถึงปัจจุบัน ข้าพเจ้าทั้ง ๓ คน ซึ่งมีชื่อข้างล่างนี้ ผู้เป็นทายาท
และเป็นหลาน ขอฝากพระพุทธรูปทองค�าทั้ง ๓ องค์นี้ไว้เป็นพระพุทธรูปคู่กับ
พระเจ้าใหญ่ในศาลาวัดแจ้งตลอดไป คุณย่าครับผมได้ปฏิบัติตามค�ามั่นสัญญา
ต่อคุณย่าทุกประการแล้ว พลตรี จุมพล ทองทาบ พลตรี ประทิน ทองทาบ
นายแพทย์ประเสริฐ ทองทาบ อนึ่งเมื่อข้าพเจ้าทั้ง ๓ คนนี้สิ้นชีวิตไป ขอให้
ทายาทของข้าพเจ้าด�าเนินการตามที่บันทึกไว้ข้างต้น” (พระครูสุตตจันทโสภณ
๒๕๖๒: สัมภาษณ์)
๒.๔ ธรรมาสน์
ในหอแจกมีธรรมาสน์ยอดมณฑปขาสิงห์แต่งเป็นรูปหน้าสิงห์
รูปทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัส ๑ หลัง ตั้งบนฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัสประดับไม้กลึง มุมขาสิงห์
มีรูปกระต่ายไม้แกะสลัก เดิมมีตุ๊กตาทหารประดับโดยรอบปัจจุบันสูญหายไป
แล้ว ใต้ฐานจารึกว่า สร้าง ๒๘ มกราคม พ.ศ. ๒๔๗๓ และบูรณะวันที่ ๑๗
พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๓๕ โดยพระครูโอภาสศาสนกิจ (ทา กมโล) โดยถากลาย
ฐานสิงห์ออกเป็นบางส่วน และทาสีทองทับทั้งหลัง ที่มุมด้านข้างแต่ละด้าน
ฉลุลายประจ�ายาม หลังคาเป็นซุ้มหน้าจั่วทั้ง ๔ ด้าน เรียกว่ายอดพรหมสี่หน้า
ประดับกระจังใบโพธิ์โดยรอบ เหนือขึ้นไปเป็นเจดีย์จ�าลอง องค์ระฆังเหลี่ยม
บัลลังก์เป็นฐานบัวสี่เหลี่ยมรับปล้องไฉนเรียงซ้อนกัน ๕ ชั้นรับปลียอด กาบปลี
ยอดเป็นเส้นโค้งขึ้น ๕ เส้น (ห้างหุ้นส่วนจ�ากัด ปุราณรักษ์ ๒๕๖๑: ๘)