Page 22 - พ่อดีเด่นราชภัฏ ประจำปี ๒๕๖๗ : สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
P. 22
โดยเมื่อวันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๒๙ กระทรวงวัฒนธรรม (ในขณะนั้นดำเนินการ
โดยศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย ในสังกัดกรมศิลปากร กระทรวงศึกษาธิการ) ได้น้อมเกล้าฯ
ถวายพระราชสมัญญา “อัครศิลปิน” และทูลเกล้าฯ โล่อัครศิลปิน แด่ พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพล
อดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
คำว่า “อัครศิลปิน” หากแปลตามศัพท์หมายความว่า “ผู้มีศิลปะอันเลอเลิศ” หรือ
“ผู้เป็นใหญ่ในศิลปิน” พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงเป็นเลิศ
ในศิลปะทั้งมวล ทรงได้รับการยกย่องสดุดีพระเกียรติคุณในพระปรีชาสามารถอย่างหาที่เปรียบมิได้
เป็นที่ประจักษ์ชัดแก่พสกนิกรชาวไทยและศิลปินทั่วโลก
พระราชสมัญญา “พระบิดาแห่งการจัดการทรัพยากรน้ำ”
ในมหามงคลสมัยที่พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
ทรงครองสิริราชสมบัติครบ ๕๐ ปี ในพุทธศักราช ๒๕๓๙ รัฐบาลและประชาชนชาวไทยทั้งมวล
พร้อมใจกันน้อมเกล้าฯ ถวายพระราชสมัญญา “พระบิดาแห่งการจัดการทรัพยากรน้ำ” เมื่อวันที่
๒๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๓๙ ณ ศาลาดุสิดาลัย พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน เพื่อเทิดพระเกียรติ
และสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้นในพระปรีชาสามารถ และพระอัจฉริยภาพของพระองค์
ในการพัฒนาแหล่งน้ำและการจัดการทรัพยากรน้ำ
พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงแสดงให้เป็นที่ประจักษ์
แก่อาณาประชาราษฎร์ ทั้งปวงว่า “น้ำคือชีวิต” พระองค์พระราชทานโครงการอันเนื่องมาจาก
พระราชดำริด้านการพัฒนาแหล่งน้ำเป็นจำนวนมากมายหลายโครงการ ซึ่งได้ทรงศึกษาค้นคว้า
ด้วยพระองค์เองจากเอกสารและรายงานทางวิชาการที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาและการจัดการ
ทรัพยากรน้ำ พระองค์ทรงศึกษารายละเอียดจากแผนที่ภาพถ่ายทางอากาศถึงพิกัดที่ตั้งหมู่บ้าน
ในท้องถิ่นชนบทห่างไกล และเสด็จพระราชดำเนินทรงตรวจสภาพพื้นที่ภูมิประเทศจริง
ทรงกำหนดโครงการต่าง ๆ ขึ้นบนแผนที่ จากนั้นพระราชทานให้หน่วยงานที่รับผิดชอบรับไปพิจารณา
ดำเนินการตามความเหมาะสม ซึ่งได้ช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำของราษฎรและทำให้ราษฎรมีน้ำ
เพื่ออุปโภค บริโภค และทำการเกษตรตามความต้องการอย่างเพียงพอในทุกฤดูกาล ความสน
พระราชหฤทัยในเรื่องน้ำ มิใช่แต่งานพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อบรรเทาปัญหาความเดือดร้อนของพสกนิกร
อันเนื่องมาจากการขาดแคลนน้ำเท่านั้น แต่ยังสนพระราชหฤทัยในการจัดการทรัพยากรน้ำ เพื่อให้เกิด
ความสมดุลทั้งด้านปริมาณและคุณภาพซึ่งถือเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิตของมนุษย์ อีกด้วย
๒๐