Page 21 - พ่อดีเด่นราชภัฏ ประจำปี ๒๕๖๗ : สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
P. 21

ความเป็นมาแห่งพระราชสมัญญาดังกล่าว แสดงถึงพระอัจฉริยภาพของพระบาทสมเด็จ

               พระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ว่าทรงเป็นเลิศในสรรพวิชาทั้งปวง ดังนี้



               พระราชสมัญญา “อัครศิลปิน”

                      พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เป็นพระมหากษัตริย์

               พระองค์เดียวในโลก ที่มีพระอัจฉริยภาพล้ำเลิศด้านศิลปะ และมีพระปรีชาชาญในงานศิลปะ

               และงานช่างหลายสาขา ได้แก่ จิตรกรรม ประติมากรรม ภาพถ่าย หัตถศิลป์ สิ่งประดิษฐ์ ศิลปะ

               งานออกแบบ สถาปัตยศิลป์ ดุริยางคศิลป์ บทเพลง นาฏศิลป์ ดนตรีไทย วรรณศิลป์ และวาทศิลป์

               พระองค์ทรงสร้างสรรค์งานศิลปะฝีพระหัตถ์จำนวนมาก เช่น ภาพจิตรกรรมฝีพระหัตถ์

               จำนวน ๑๖๗ ภาพ เพลงพระราชนิพนธ์ ๔๘ เพลง ในจำนวนนี้มีคำร้อง พระราชนิพนธ์เป็นภาษาอังกฤษ

               ๕ เพลง วรรณกรรมพระราชนิพนธ์ รวม ๑๗ เรื่อง ภาพถ่ายฝีพระหัตถ์จำนวนมากเกินคณานับ

               และเรือใบที่ทรงสร้างด้วยพระองค์เองอีกหลายลำ


                      พระปรีชาสามารถล้ำลึกของพระองค์เป็นที่ประจักษ์แก่สายตา และความรับรู้ของประชาชน

               ชาวไทย อีกทั้งยังก้องกำจายไปสู่นานาประเทศทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านดุริยางคศิลป์ ซึ่งทรงเป็น

               เอตทัคคะทางดนตรีอย่างยิ่ง ในพุทธศักราช ๒๕๐๗ สถาบันการดนตรีและศิลปะการแสดงแห่งนคร

               เวียนนา (Die Akademie fur Musik und Darstellende Kunst in Wien) ประเทศออสเตรียได้ทูลเกล้าฯ

               ถวายประกาศนียบัตรชั้นสูงอันทรงเกียรติยิ่งแด่พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช

               บรมนาถบพิตร และถวายพระเกียรติให้ทรงดำรงตำแหน่งสมาชิกกิตติมศักดิ์ หมายเลข ๒๓ พร้อมทั้ง

               ได้จารึกพระปรมาภิไธยบนแผ่นจำหลักหินอ่อนของอาคารสถาบันเก่าแก่ของยุโรปแห่งนี้ เพื่อแสดงว่า

               มีพระอัจฉริยภาพทางดนตรีอย่างสูงยิ่ง


                      ความสนพระราชหฤทัยในงานศิลปะและงานออกแบบของพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพล
               อดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร มีมาตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ จาก “ของเล่น” ทรงพัฒนามาสู่


               “งานอดิเรก” และในเวลาต่อมาทรงประสาน “งานอดิเรก” ส่วนพระองค์เข้ากับพระราชกรณียกิจ
               ที่ทรงมีต่อบ้านเมือง การถ่ายภาพเป็นงานศิลปะที่ทรงปฏิบัติอย่างต่อเนื่องยาวนานนับตั้งแต่ยังทรง


               พระเยาว์ ซึ่งประชาชนจะได้เห็นพระองค์ทรงถือกล้องถ่ายรูปไว้ในพระหัตถ์ และทรงยกกล้องขึ้น
               ถ่ายภาพประชาชนของพระองค์และภาพสิ่งต่าง ๆ เสมอ ผลงานฝีพระหัตถ์ทางด้านจิตรกรรม


               ประติมากรรม หัตถศิลป์ และดุริยางคศิลป์ ล้วนเป็นผลงานศิลปะล้ำค่าที่แสดงพระอัจฉริยภาพล้ำลึก











                                                           ๑๙
   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25   26