Page 23 - พ่อดีเด่นราชภัฏ ประจำปี ๒๕๖๗ : สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
P. 23

พระราชสมัญญา “พระบิดาแห่งฝนหลวง”

                      พระราชกรณียกิจและพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช

               บรมนาถบพิตร ที่มีต่อประชาชนและประเทศชาติ ในโครงการพระราชดำริฝนหลวงมีมากมายนานัปการ

               พระองค์ทรงเป็นผู้ให้กำเนิด “ฝนหลวง” จากพระราชดำริเมื่อวันที่ ๑๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๙๘

               เนื่องจากพระองค์เสด็จพระราชดำเนินทรงเยี่ยมประชาชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทรงพบเห็น

               ความทุกข์ยากเดือดร้อนของประชาชนในถิ่นทุรกันดารอันเนื่องมาจากความเปลี่ยนแปลง

               และความไม่แน่นอนของฝนตามธรรมชาติ ดังข้อความในพระราชบันทึกพระราชทานว่า


                                 “... เมื่อมีฝนก็มีมากเกินพอ จนเกิดปัญหาน้ำท่วม


                                       เมื่อหมดฝนก็เกิดปัญหาภัยแล้งตามมา


                                นี่จึงเป็นสาเหตุหนึ่งของความยากจนของประชาชน


                        เมื่อแหงนมองท้องฟ้ามีเมฆมาก แต่ลมพัดพาผ่านไปไม่ตกเป็นฝน

                                  น่าจะมีวิธีบังคับให้ฝนตกสู่พื้นที่แห้งแล้งได้ ...”



                      พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร จึงทรงทุ่มเทและ

               ทรงเสียสละเวลา และพระราชทานทุนทรัพย์ส่วนพระองค์เพื่อใช้ในการพัฒนาเทคโนโลยีฝนเทียม

               ด้วยพระวิริยอุตสาหะและพระเมตตาที่มีต่อประชาชนที่ได้รับความทุกข์ยากจากภัยแล้ง

               พระองค์ทรงศึกษาทบทวนและวิเคราะห์วิจัยจนทรงสามารถค้นพบวิธีการและทรงสรุปเป็นข้อสมมติฐาน

               ทำให้เกิดการทดลองปฏิบัติการจริงในท้องฟ้าได้เป็นครั้งแรก เมื่อพุทธศักราช ๒๕๑๒ พระองค์ทรงวิจัย

               และทรงพัฒนากรรมวิธีควบคู่กับการพระราชทานข้อแนะนำทางเทคนิคต่าง ๆ ในการทำฝนเทียม

               กู้ภัยแล้ง พระองค์สนพระราชหฤทัยและทรงติดตามผลการปฏิบัติการฝนเทียมอย่างต่อเนื่อง

               หากเกิดวิกฤตการณ์ภัยแล้งอย่างกว้างขวางและรุนแรงของประเทศขึ้นเมื่อใด พระองค์จะพระราชทาน

               ข้อแนะนำทางเทคนิคในการวางแผน และปรับแผนการทำฝนเทียมให้ได้ผลดียิ่งขึ้น

               บางครั้งได้พระราชทานทุนทรัพย์ส่วนพระองค์เข้าช่วยเหลืออีกด้วย โครงการฝนหลวงจึงสามารถแก้ไข

               วิกฤตภัยแล้งได้สำเร็จเป็นอย่างดี


                      ปัจจุบันโครงการฝนหลวงมีภารกิจทำฝนเทียมเพื่อแก้ไขภัยแล้ง ป้องกันฝนทิ้งช่วง

               และเพิ่มปริมาณน้ำให้แก่เขื่อนต่าง ๆ และทำฝนเทียมเพื่อสร้างความชุ่มชื้นให้พื้นที่เกษตรกรรม

               และป่าไม้ในช่วงฤดูแล้ง ตามแนวนโยบายพระราชทานเพื่อลดการใช้น้ำจากเขื่อน ลดโอกาสเกิดไฟป่า

               และทำฝนดับไฟป่า เพื่อช่วยลดความเสียหายจากไฟป่าได้อย่างมาก โครงการฝนหลวงได้ปฏิบัติงาน

               ให้เกิดประโยชน์แก่ประชาชนและประเทศชาติมาโดยตลอด ดังนั้นในการประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่


                                                           ๒๑
   18   19   20   21   22   23   24   25   26   27   28