Page 45 - วัฒนศิลปสาร ปีที่ ๑๓ (ตุลาคม ๒๕๖๐ - พฤษภาคม ๒๕๖๑) สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
P. 45
ชาวอุบลราชธานี เมื่อวันที่ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๔๙๘ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์
พระบรมราชินีนาถ ได้ทรงฉลองพระองค์ด้วยผ้าซิ่นไหมฯ ที่ชาวอุบลฯ ทูลเกล้าฯ
ถวาย มีพระกระแสรับสั่งกับผู้เฝ้ารับเสด็จฯ ที่หน้าศาลากลางจังหวัดฯ ว่า “ชาวอุบลฯ
เขาให้ผ้าซิ่นผืนนี้เป็นของขวัญวันอภิเษกสมรส เมื่อมาเยี่ยมอุบลฯ จึงน�ามานุ่ง
ให้คนอุบลฯ เขาดู” ชาวอุบลฯ ปลาบปลื้มปีติเป็นล้นพ้น
เมื่อมีการประชุมพิจารณา “โครงการอนุรักษ์ผ้าทอเมืองอุบลฯ” โดยมี
พระพรหมวชิรญาณ เป็นประธาน ณ ศาลากลางจังหวัดอุบลราชธานี เมื่อวันที่
๒๐ กันยายน ๒๕๔๖ องค์ประธานได้เล่าให้ที่ประชุมฟังว่า ในสมัยที่ท่านเป็น
เจ้าอาวาสวัดธัมมาราม นครชิคาโก สหรัฐอเมริกา สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรม
ราชินีนาถได้เสด็จฯ มาที่วัดธัมมาราม ฉลองพระองค์ด้วยชุดผ้าไหมหางกระรอก
มีพระกระแสรับสั่งกับพระพรหมวชิรญาณ และชาวอุบลฯ ที่เฝ้าฯ รับเสด็จว่า
“ผ้าไหมหางกระรอกที่ตัดชุดนี้ เป็นผ้าทอจากจังหวัดอุบลราชธานี ฝีมือละเอียด
เรียบร้อยสวยงามมาก” ชาวอุบลฯ ปลาบปลื้มใจที่ผ้าทอเมืองอุบลฯ เป็นที่
พอพระราชหฤทัยของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และทรงชมเชย
ให้ชาวอุบลฯ ได้ชื่นชม นับว่า ผ้าทอเมืองอุบลฯ เป็นที่โปรดปรานถึงสองรัชกาล
ก่อเกิดความภาคภูมิใจแก่ชาวอุบลฯ ตลอดมา แต่เป็นที่น่าเสียดาย ที่ผ้าทอ
เมืองอุบลฯ ได้ถูก ลืมเลือนไปตามกาลเวลา
ต่อมาโครงการสืบสานผ้าไทยสายใยเมืองอุบลฯ ได้เกิดขึ้น เพื่อธ�ารงไว้ซึ่ง
ความเป็นเอกลักษณ์วัฒนธรรม อันล�้าค่าของเมืองอุบลฯ โดย นายศิวะ แสงมณี
รองปลัดกระทรวงมหาดไทย สมัยที่ด�ารงต�าแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี
ได้มอบหมายให้คณะท�างาน พิจารณาฟื้นฟูลายผ้าพื้นเมืองในอดีตที่สวยงาม
จนได้ลายผ้ามีลักษณะเป็นเอกลักษณ์ชื่อว่า “ผ้ากาบบัว” พร้อมกับมีประกาศ
ผ้ากาบบัว เป็นลายผ้าเอกลักษณ์ประจ�าจังหวัด เมื่อวันที่ ๒๕ เมษายน ๒๕๔๓
ผ้ากาบบัว เป็นชื่อผ้าในวรรณกรรมโบราณอีสาน ซึ่งไม่อาจทราบหรือ
พบในปัจจุบันแล้ว ชื่อผ้ากาบบัว มีความหมายเหมาะสมสอดคล้องกับชื่อของจังหวัด
อุบลราชธานี ผ้ากาบบัว อาจทอด้วย ฝ้ายหรือไหม ประกอบด้วย เส้นยืน (Warh)
ย้อมอย่างน้อยสองสีเป็นริ้ว ตามลักษณะ “ซิ่นทิว” ซึ่งมีความนิยมแพร่หลาย
แถบอุบลราชธานี ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน นอกจากนี้ ยังทอพุ่ง (Weft) ด้วยไหมสี
มับไม (ไหมปั่นเกลียวหางกระรอก) มัดหมี่ และขิด
วัฒนศิลปสาร 43