Page 48 - วัฒนศิลปสาร ปีที่ ๑๓ (ตุลาคม ๒๕๖๐ - พฤษภาคม ๒๕๖๑) สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
P. 48

สิ่งที่คาดไม่ถึงก็คือว่า ค�าว่า “ผ้ากาบบัว” มีผู้สงสัยในการตั้งชื่อ โดยมี

       โทรศัพท์จาก กทม. บอกว่าเป็นชาวอุบลฯ รับราชการเป็นอัยการ ที่ส�านักอัยการ
       สูงสุด เป็นผู้นิยมชมชอบผ้ากาบบัวเช่นเดียวกับชาวอุบลฯ ทั้งหลาย แต่ยังข้องใจว่า
       ผ้ากาบบัว” ท�าไมไม่เรียกว่า “ผ้ากลีบบัว” เพราะโดยสามัญส�านึกทั่วไป หรือแม้แต่
       พจนานุกรมฯ ก็ได้ไห้ความหมายของค�าว่า “กลีบ” ไว้ว่า “ส่วนของดอกไม้ที่เรียงหรือ

       ช้อนกันเป็นชั้น ๆ รอบเกสร” โดยนัยความหมายนี้ กลีบบัว ก็คือส่วนที่เรียงซ้อนกัน
       เป็นชั้นๆ รอบเกสรดอกบัว ส่วนค�าว่า “กาบ” ตามความเข้าใจตั้งแต่เด็กๆ มาแล้ว
       หมายถึง “กาบกล้วย” “กาบหมาก” หรือ “กาบมะพร้าว” ไม่ได้หมายถึง “กลีบดอกไม้”
       ที่มีความเห็นเช่นนี้ มิใช่จะโต้แย้งหรือคัดค้านแต่ประการใด เพียงแต่ใคร่ขอทราบ

       เหตุผลในการตั้งชื่อ “ผ้ากาบบัว” เพื่อเผยแพร่ให้ผู้ที่ยังสงสัยได้ทราบต่อไป
              เรื่องนี้ผู้เขียนเองก็ประสงค์จะทราบเช่นเดียวกัน ประกอบกับมีโทรศัพท์
       จากสมาคมชาวอุบลราชธานีใน กทม. ย�้ามาอีกว่า มีผู้สงสัยกันมาก ควรขยายความ
       เรื่องนี้ให้ชัดเจน ผู้เขียนจึงได้ไปขอความกระจ่างกับ “ผู้รู้” หลายท่าน เช่น

       ร.ต.ต.หญิงสุดา งามนิล และพี่บ�าเพ็ญ ณ อุบล อดีตอัยการชั้นฏีกา ซึ่งเป็นหัวเรี่ยว
       หัวแรงคนส�าคัญของคณะท�างาน “โครงการสืบสานผ้าไทยสายใยเมืองอุบลฯ”
       รวมทั้งเป็นผู้เสนอชื่อ “ผ้ากาบบัว” ให้เป็นชื่อเรียกผ้าเอกลักษณ์เมืองอุบลฯ
              พี่บ�าเพ็ญ ณ อุบล ได้เล่าความเป็นมาและเหตุผล พร้อมกับเอกสารข้อยุติ

       ของคณะท�างานเรื่องนี้ รวม ๔ ข้อ ดังนี้
              ชื่อของผ้าเอกลักษณ์เมืองอุบล “ผ้ากาบบัว”
              เนื่องจากในการประชุมคณะท�างาน  พิจารณาลายผ้าพื้นเมือง
       คุณพ่อบ�าเพ็ญ ณ อุบล ได้เสนอชื่อ ผ้ากาบบัว อันเป็นชื่อผ้าในวรรณกรรมโบราณ

       อีสาน ซึ่งไม่อาจทราบหรือพบในยุคปัจจุบันแล้ว ให้เป็นชื่อเรียกผ้าเอกลักษณ์
       เมืองอุบล
              ชื่อผ้ากาบบัว ออกเสียงง่าย ไพเราะ และง่ายต่อการจ�า
              ชื่อผ้ากาบบัว สอดคล้องกับความนิยมในเรื่องสีของยุคปัจจุบัน โดย

       จะเห็นได้ว่า ในการน�าเสนอข่าวแฟชั่นของทุกปี จะต้องมีการน�าเสนอสีแนวธรรมชาติ
       (Earth Tone) อยู่เสมอ สีของกาบบัว (ภาษาท้องถิ่น) หรือ กลีบบัว ซึ่งไล่อ่อนแก่
       จากขาว ชมพู เทา เขียว น�้าตาล อยู่ในความนิยมเสมอ และยังสอดคล้องกับ
       การย้อมจากพืชพรรณธรรมชาติอีกด้วย


     46 วัฒนศิลปสาร
   43   44   45   46   47   48   49   50   51   52   53