Page 47 - วัฒนศิลปสาร ปีที่ ๑๓ (ตุลาคม ๒๕๖๐ - พฤษภาคม ๒๕๖๑) สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
P. 47

ในเกียรติภูมิของวัฒนธรรมท้องถิ่น ยิ่งเมื่อมีการใช้สอยผ้ากาบบัวโดยชาวอุบล ก็ยิ่ง

          แสดงให้เห็นถึงการช่วยเหลือเกื้อกูลในท้องถิ่น เพราะเกิดการสร้างงานอาชีพ
                 อนึ่ง การรวบรวมหลายเทคนิควิธีการทอในผืนผ้า ย่อมเกิดประโยชน์ในการ
          ฝึกฝนทักษะการทอ เกิดพื้นฐาน เกิดพัฒนาการทางฝีมือให้ดียิ่งขึ้นไปในที่สุด

                 เมื่อพิจารณาจากสี เริ่มจากขาวอันพิสุทธิ์ของกลีบดอกหรือกาบบัว สีอาจ
          ไล่แปรเปลี่ยนเป็นสีชมพู เขียวจาง ทองอ่อน เทา เขียวขี้ม้า ไปจนถึงน�้าตาลไหม้

          แสดงลักษณะทางธรรมชาติที่สอดคล้องกับการใช้สี ทุกยุค ทุกสมัย ปรับไปใช้ได้กับ
          ทุกเพศ ทุกวัย ผ้ากาบบัวของชาวอุบลนี้ จึงไม่ควรเป็นแต่เพียงผ้าที่สมมุติให้แทน
          เอกลักษณ์ หากแต่เป็นจุดเริ่มของพลังรักในท้องถิ่น ที่แสดงถึงความเอื้อเฟื้อเกื้อกูล

          ต่อเกียรติภูมิของกลุ่มชนชาวอุบล
                 ในขณะที่ “ผ้ากาบบัว” ก�าลังเป็นที่นิยมแพร่หลายไปทั่วประเทศ และ

          ต่างประเทศ เพราะเป็นผ้าเอนกประสงค์ ใช้ได้ทุกเพศ ทุกวัย ใช้เป็นผ้าม่าน ผ้าปูโต๊ะ
          ผ้าประดับตกแต่งที่มีคุณค่าทางศิลปะ (ไม่มีข้อจ�ากัดเหมือนผ้าทอพื้นเมืองบางชนิด
          ที่ใช้ได้เฉพาะกรณี เช่น เป็นผ้าสไบเฉียง ผ้าคาดเอว หรือใช้ได้เฉพาะสตรีเท่านั้น)

          แม้แต่คณะรัฐมนตรี ก็สวมใส่ “ผ้ากาบบัว” โดยทั่วหน้า





















                 ที่น่าภาคภูมิใจก็คือว่า เจ้าชายอากิชิโน พระราชโอรสสมเด็จพระจักรพรรดิ
          ญี่ปุ่น ที่เสด็จฯ จังหวัดอุบลราชธานี เมื่อไม่นานมานี้ ก็ฉลองพระองค์ด้วย

          “ผ้ากาบบัว”


                                                                   วัฒนศิลปสาร  45
   42   43   44   45   46   47   48   49   50   51   52