Page 119 - วัฒนศิลปสาร ปีที่ ๑๕ (ตุลาคม ๒๕๖๒ - พฤษภาคม ๒๕๖๓) สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
P. 119
วัดในเขตอ�ำเภอเมืองอุบลรำชธำนี จังหวัดอุบลรำชธำนี 111
วัดใต้พระเจ้าใหญ่องค์ตื้อ
๑. ที่ตั้ง
เลขที่ ๒ ถนนพรหมราช-ถนนสุนทรวิมล ต�าบลในเมือง
อ�าเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี
พิกัด (UTM หรือละติจูด/ลองจิจูด) ๑๕.๒๒๗๒๖๘, ๑๐๔.๘๖๖๓๙๐
๒. ประเภทแหล่งศิลปกรรม โบราณสถานและโบราณวัตถุ
วัดใต้พระเจ้าใหญ่องค์ตื้อ มีเสนาสนะและอาคารต่าง ๆ ได้แก่ อุโบสถ
วิหารเฉลิมพระเกียรติราชานุสรณ์ ๒๐๐ ปี พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า
เจ้าอยู่หัว ร.๔ (ศาลาการเปรียญ) พระบรมธาตุเนรมิตเจดีย์ ศาลาพิชัย-สุนีย์
ปัณฑวังกูร ประตูโขง ๓ ประตู หอระฆังนาคทองส�าริด เฉลิมพระเกียรติครองสิริ
ราชสมบัติครบ ๖๐ ปี ร.๙ กุฏิ ๑๓ หลัง เมรุ และอุทยานการเรียนรู้ มีโบราณ
สถาน โบราณวัตถุและศิลปวัตถุที่ส�าคัญ ดังนี้
๒.๑ อุโบสถ
อุโบสถสร้างแล้วเสร็จใน พ.ศ. ๒๕๑๙ แทนสิมเก่าที่รื้อใน
พ.ศ. ๒๕๐๙ ปัจจุบันเหลือคันทวยสิมเก่า ๒ คันเก็บรักษาไว้ที่กุฏิเจ้าอาวาส
ลักษณะอุโบสถเป็นศิลปะ ๓ แบบคือ หลังคาเป็นทรงไทย ช่อฟ้า
ใบระกาเป็นศิลปะขอมผสมเวียดนาม และส่วนฐานเป็นศิลปะไทยอีสาน ขนาด
กว้าง ๙ เมตร ยาว ๒๑ เมตร เปิดให้สักการะพระเจ้าใหญ่องค์ตื้อ ตั้งแต่เช้าถึง
เวลา ๒๓.๐๐ น. นอกจากมีพระเจ้าใหญ่องค์ตื้อเป็นพระประธานแล้ว
ในอุโบสถยังมีพระพุทธรูปและโบราณวัตถุที่ส�าคัญ ดังนี้
- พระบางไม้ขนุน ปางห้ามสมุทร ๒ องค์ ศิลปะลาว สกุลช่าง
เมืองอุบลราชธานี