Page 120 - วัฒนศิลปสาร ปีที่ ๑๕ (ตุลาคม ๒๕๖๒ - พฤษภาคม ๒๕๖๓) สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
P. 120
112 วัดในเขตอ�ำเภอเมืองอุบลรำชธำนี จังหวัดอุบลรำชธำนี
- พระบางนากส�าริด และพระบางทองส�าริด ปางห้ามสมุทร
ขุดพบที่ใต้ฐานธาตุเจดีย์เก่าของวัดเมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๔ เป็นหนึ่งในของดี
เมืองอุบลตามค�ากล่าวมาแต่โบราณว่า “พระบทม์วัดกลาง พระบางวัดใต้ หอไตร
วัดทุ่ง”
- เม็งหรือธรรมาสน์ปาฏิโมกข์
๒.๒ พระเจ้าใหญ่องค์ตื้อ
พระเจ้าใหญ่องค์ตื้อเป็นพระประธานในอุโบสถวัดใต้พระเจ้าใหญ่
องค์ตื้อ เนื้อทองเก้าส�าริด ปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง ๕๑ นิ้ว สูงรวมฐาน
๘๕ นิ้ว ฐานสูง ๒๖.๕ นิ้ว เมื่ออุโบสถเก่าทรุดโทรม องค์พระตั้งอยู่กลางแจ้ง
เป็นเวลานานจนองค์พระแตกสะเก็ด เล่ากันว่าพระพุทธรูปองค์นี้ถูกพอกไว้
ด้วยเปลือกไม้บดละเอียด ผสมผงอิทธิเจ ยางบง ทองค�า เงิน นาก ส�าริด เงินราง
กาชาดชะพอกด้วยน�้าเกลี้ยงน�้าชาดแล้วลงรักปิดทอง (พระราชธรรมโกศล
๒๕๖๐: ๑๓-๑๔) ในจารึกวัดใต้เทิง ๑ กล่าวว่าอัครวรราชครูปุตสีตธรรมวงศา
และพระพรหมราชวงศาภูมินทร์เป็นประธานสร้างองค์พระ ดังความตอนหนึ่งว่า
“...สมเด็จอัครวรราชครูปุสสีตธรรมวงศาเจ้าจึงมาใส่ตกแต่ง
จึงอยู่โสดสุขแห่งด้วยเดชประจงไว้ จึงขวนขวายหาก็สมยอได้ยนทองมี
ประมาณ ๙ แสนบาทบน จึงพร้อมกันหล่อพุทธรูปสร้อยสัพพัญญูยอดแก้วก็ดี...
ในกาลนั้นจึงชมพระนามวิลาศ พุทธรูปเจ้าชื่อว่า เมตตรัย สัทโธด้วยมหันต
ศรัทธาโสภาพ มีใจอันสลาดด้วยกุศลปรารถนา ขอให้ได้ยังอรหันตผลญาณ
ในอนาคตกาลเบื้องหน้าในส�านักพระพุทธเจ้าอริยเมตตรัยโยเจ้าฟ้าอันอยู่
ห้องดุสิตา ขอให้ได้ดังค�ามักค�าปรารถนา อย่าคลาดแคล้วก็ข้าเทอญ...”
(ธวัช ปุณโณทก ๒๕๓๐: ๔๐๒-๔๐๓)
พระพุทธรูปองค์นี้จึงมีนามตามจารึกว่า พระเมตตรัยสัทโธ
ส่วนค�าว่าตื้อเป็นจ�านวนนับของชาวล้านช้างเปรียบว่าองค์พระมีน�้าหนักมาก
ผู้คนน�าเงินทองจ�านวนมากมาสร้างพระหนักถึงเก้าแสนบาท (พระราชธรรมโกศล