Page 124 - วัฒนศิลปสาร ปีที่ ๑๕ (ตุลาคม ๒๕๖๒ - พฤษภาคม ๒๕๖๓) สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
P. 124
116 วัดในเขตอ�ำเภอเมืองอุบลรำชธำนี จังหวัดอุบลรำชธำนี
สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (ติสฺโส อ้วน) และพระอุบาลีคุณูปมาจารย์
(สิริจนฺโท จันทร์) ให้ยุบรวมทั้ง ๒ วัดเข้าด้วยกันเรียกชื่อว่า วัดใต้เทิง ส่วนพื้นที่
วัดใต้ท่าสร้างเป็นโรงไฟฟ้าของจังหวัด ปัจจุบันโรงไฟฟ้าย้ายออกไปแล้ว พื้นที่
ว่างเป็นที่ธรณีสงฆ์อยู่ในความดูแลของส�านักงานพระพุทธศาสนาจังหวัด
อุบลราชธานีชาวบ้านทั้งสองคุ้มวัดตกลงกันว่าให้เรียกชื่อ วัดใต้ เพื่อไม่ให้เกิด
ความแตกแยกและเพื่อให้สื่อถึงองค์พระประธานในอุโบสถจึงน�านามพระพุทธ
รูปมาต่อท้ายชื่อวัดเป็น วัดใต้พระเจ้าใหญ่องค์ตื้อ ใน พ.ศ. ๒๕๔๔
วัดใต้พระเจ้าใหญ่องค์ตื้อได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ
วันที่ ๒๙ พฤศจิกายน ร.ศ. ๑๑๗ พ.ศ. ๒๔๔๑ กว้าง ๗ วา ๑ ศอก ยาว ๑๒ วา
๒ ศอก ผู้ขอวิสุงคามสีมาคือท้าวสิทธิสารกับเพื้ยเมืองแสน (ตามใบพระราชทาน
วิสุงคามสีมา อักษรไทยและอักษรขอม) ต่อมาเมื่อสร้างอุโบสถหลังใหม่ได้รับ
พระราชทานวิสุงคามสีมา กว้าง ๔๐ เมตร ยาว ๘๐ เมตร เมื่อวันที่ ๑๔ ธันวาคม
พ.ศ. ๒๕๒๒
เจ้าอาวาส เจ้าอาวาสวัดใต้พระเจ้าใหญ่องค์ตื้อนับถึง พ.ศ. ๒๕๖๒
มี ๑๓ รูป ดังนี้
๑) อัญญาครูแก้ว
๒) ญาท่านบุญสี
๓) พระครูวิเวกพุทธกิจ (กนฺตสีโล เสาร์) อดีตเจ้าอาวาสวัดเลียบ
๔) พระครูสีทา ชยเสโน อดีตเจ้าอาวาสวัดศรีอุบลรัตนาราม อดีต
เจ้าอาวาสวัดบูรพา
๕) พระปัญญาพิศาลเถร (ฐิตปญฺโญ หนู) อดีตเจ้าอาวาสวัดปทุม
วนารามราชวรวิหารกรุงเทพมหานคร
๖) พระอาจารย์บุดดี เจนจบ
๗) พระอาจารย์สุวรรณ์ สุจิณฺโณ
๘) พระอาจารย์เพ็ง