Page 123 - วัฒนศิลปสาร ปีที่ ๑๕ (ตุลาคม ๒๕๖๒ - พฤษภาคม ๒๕๖๓) สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
P. 123
วัดในเขตอ�ำเภอเมืองอุบลรำชธำนี จังหวัดอุบลรำชธำนี 115
๒.๖ พระแผนที่ประเทศไทย
พระแผนที่ประเทศไทยเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จ
พระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ ในโอกาสครบ ๗ รอบ ๘๔ พรรษาใน พ.ศ. ๒๕๕๔
เป็นพระแผนที่ประเทศไทย สูง ๘๔ ซม. ยาว ๓๖ ซม. หนา ๒๑ ซม. สร้างขึ้น
ทั้งหมด ๑๕๒ องค์ เพื่อประดิษฐานไว้ทุกจังหวัดจังหวัดละ ๒ องค์ (ที่วัดมหา
นิกาย ๑ องค์ และวัดธรรมยุต ๑ องค์) ที่วัดใต้พระเจ้าใหญ่องค์ตื้อนี้เป็น
พระแผนที่ประเทศไทย หมายเลข ๑๓๘ สร้างซุ้มยอดฉัตรเป็นที่ประดิษฐาน
เมื่อวันที่ ๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ (พระราชธรรมโกศล ๒๕๕๒: ๑๑-๑๖)
๒.๗ โปง
บนหอระฆังเก็บรักษาโปงโลหะหล่อแบบโบราณ ๑ โปง ไม่ทราบปี
ที่สร้าง
๓. ประวัติความเป็นมา
วัดใต้พระเจ้าใหญ่องค์ตื้อ สังกัดคณะสงฆ์ธรรมยุติกนิกาย มีเนื้อที่ ๙ ไร่
๔๐๓/๑๐ ตารางวา ลักษณะพื้นดินเป็นพัก ๓ ชั้นใกล้ริมฝั่งแม่น�้ามูล
ท�าหน้าที่เป็นเขื่อนกั้นน�้าด้วยอยู่ระดับสูงกว่าวัดเลียบกั้นระหว่างวัดเลียบ
กับแม่น�้ามูล อาณาเขตทิศตะวันออกจดถนนสุนทรวิมล ทิศเหนือจด
ถนนเขื่อนธานี ทิศตะวันตกจดซอยหลังวัดใต้ (ไม่มีป้ายชื่อซอย) และทิศใต้จด
ถนนพรหมราช
แต่เดิมวัดใต้มี ๒ วัดคือ วัดใต้ท่าเป็นวัดร้างอยู่ริมแม่น�้ามูล ค�าว่า ท่า
คือทางลงแม่น�้า วัดใต้ท่าจึงเป็นวัดที่อยู่ใกล้ทางลงแม่น�้ามูล อีกวัดหนึ่ง
คือ วัดใต้เทิง ค�าว่า เทิง คือข้างบนหรืออยู่สูงขึ้นไป ดังนั้นวัดใต้เทิงจึงตั้งอยู่เหนือ
วัดใต้ท่าขึ้นไป วัดทั้งสองนี้คงสร้างพร้อมเมืองอุบล ราว พ.ศ. ๒๓๒๒
เล่ากันว่า พระมหาราชครู เจ้าหอแก้ววัดหลวงมาปฏิบัติกรรมฐานอยู่บริเวณนี้
เป็นประจ�า เจ้าเมืองจึงมาสร้างวัดใต้ท่าถวายเป็นที่จ�าพรรษาอีกแห่งหนึ่ง
ของท่าน (บ�าเพ็ญ ณ อุบล ๒๕๕๓: ๑๔๙)