Page 145 - วัฒนศิลปสาร ปีที่ ๑๕ (ตุลาคม ๒๕๖๒ - พฤษภาคม ๒๕๖๓) สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
P. 145
วัดในเขตอ�ำเภอเมืองอุบลรำชธำนี จังหวัดอุบลรำชธำนี 137
วัดทุ่งศรีเมือง
๑. ที่ตั้ง
เลขที่ ๙๕ ถนนหลวง ต�าบลในเมือง อ�าเภอเมืองอุบลราชธานี
จังหวัดอุบลราชธานี
พิกัด (UTM หรือละติจูด/ลองจิจูด) ๑๕.๒๒๙๖๓๐, ๑๐๔.๘๖๑๐๙๐
๒. ประเภทแหล่งศิลปกรรม โบราณสถานและโบราณวัตถุ
วัดทุ่งศรีเมือง มีเสนาสนะและอาคารต่าง ๆ ได้แก่ หอพระพุทธบาท
วิหารศรีเมือง หอพระไตรปิฎก, เจดีย์บรรจุอัฐิธาตุพระครูวิโรจน์รัตโนบล
(รอด นนฺตโร) ศาลาอนุสรณ์คุณแม่นุ่ม (หาญชนะ) เลาหตระกูล (หอฉัน)
ศาลาร่มเย็น ศาลารวมใจคุณยายกิม เจียรจินดา (ศาลาสวัสดี) ศาลาไพรัชอารีย์
ศาลา ๒ หอระฆังเทียนเสมอมิตร โรงเรียนบาลีสาธิตศึกษา มหาจุฬาลงกรณ
ราชวิทยาลัย กุฏิตึกขาว กุฏิสีตาภินันท์ กุฏิผาติสุวัณณ (เกิดเพลิงไหม้เสียหาย
ทั้งหลังเมื่อวันที่ ๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๒) กุฏิสุรพัฒน์ กุฏิปริยัติโกศล กุฏิรับรอง
ธานี-สุเทพ กุฏิอนุสรณ์พระราชรัตโนบล (กุฏิเจ้าอาวาส) กุฏิรับรอง “ฉลองพุทธ
ชยันตี ๒,๖๐๐” เมรุสามัคคีศรีเมือง ประตูโขง ๓ ประตู โรงเทียนพรรษา
ตลอดจนโบราณวัตถุและศิลปวัตถุต่าง ๆ ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้
๒.๑ หอพระพุทธบาท หรืออุโบสถ
สร้างขึ้นในสมัยพระอริยวงศาจารย์ ญาณวิมลอุบล สังฆปาโมกข์
(สุ้ย) ประมาณ พ.ศ. ๒๓๓๐ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
รัชกาลที่ ๓ โดยมีญาคูช่าง (พระภิกษุชาวเวียงจันทน์) เป็นช่างก่อสร้าง
เพื่อประดิษฐานรอยพระพุทธบาทที่จ�าลองมาจากวัดสระเกศราชวรมหาวิหาร
กรุงเทพมหานคร ชาวบ้านจึงเรียกว่าหอพระพุทธบาท หรือหอพระบาท
และใช้เป็นอุโบสถของวัดด้วย มีใบเสมาแนบติดกับฐานหอพระพุทธบาทบริเวณ
มุมอาคารด้านตะวันออกเฉียงใต้ เป็นใบเสมาปูนปั้นเรียบ ไม่มีลวดลายพบเพียง
ใบเดียว ส่วนใบอื่น ๆ ไม่ปรากฏ และใบเสมาใบนี้ในปัจจุบันก็สูญหายไปแล้ว
เช่นกัน (ยุทธนาวรากร แสงอร่าม ๒๕๕๑: ๙-๑๐)