Page 146 - วัฒนศิลปสาร ปีที่ ๑๕ (ตุลาคม ๒๕๖๒ - พฤษภาคม ๒๕๖๓) สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
P. 146

138 วัดในเขตอ�ำเภอเมืองอุบลรำชธำนี จังหวัดอุบลรำชธำนี


                     อุโบสถหลังนี้มีลักษณะสถาปัตยกรรมแบบผสมผสานระหว่าง

          ศิลปะรัตนโกสินทร์ตอนต้นกับศิลปะล้านช้างซึ่งเป็นรูปแบบที่ตกสืบทอดมาจาก
          ศิลปะอยุธยาตอนปลาย อาคารมีขนาด ๓ ห้อง ก่ออิฐถือปูน หันหน้าไปทางทิศ
          ตะวันออก มีระเบียงด้านหน้า ราวบันไดเป็นรูปพญานาคขี่จระเข้แบบท้องถิ่น

          อีสานท�าหน้าที่เป็นทวารบาลของหอพระพุทธบาท ซึ่งแฝงปริศนาธรรมว่า
          ถ้าบวชเข้ามาแล้วไม่ปฏิบัติกิจของสงฆ์ ฉันแล้วเอนเพลแล้วนอนก็ไม่แตกต่าง

          อะไรกับจระเข้ จึงต้องมีกฎระเบียบมาบังคับเอาไว้คือพญานาค นอกจากนี้
          ส่วนฐานเป็นฐานปากกระเภาผสมกับฐานสิงห์ และมีฐานเขียงรองรับอีกชั้นหนึ่ง
                     โครงหลังคาเป็นศิลปะแบบรัตนโกสินทร์ เป็นหลังคาแบบชั้นลด

          ๒ ชั้น ชั้นละ ๓ ตับ แบบภาคกลาง มีลักษณะแบบอีสานผสมกับศิลปะไทย
          หน้าบันด้านหน้าและด้านหลังจ�าหลักไม้ปิดทองประดับกระจกเป็นรูปพระอินทร์

          ประทับในบุษบกบนช้างเอราวัณสามเศียร ประดับลายก้านขด มีเสาบัวกลีบขนุน
          ๔ ต้นรองรับหน้าบัน มีสาหร่ายรวงผึ้งประดับตกแต่งทั้ง ๓ ช่อง ระหว่างเสา
          ๔ ต้น แกะสลักลวดลายดอกกาละกับอย่างงดงาม นอกจากนี้มีคันทวยรูป

          เทพพนมรองรับไขราทั้งสิ้น ๑๐ ตัว มีเสาพะไลคู่ด้านหน้ารองรับหลังคา
          ระหว่างเสาพะไลมีพนัก (สุรชัย ศรีใส ๒๕๕๕: ๑) มีก�าแพงแก้วล้อม ๒ ชั้น

          มีปูนปั้นเป็นเรื่องราวอาจเป็นชาดกหรือปริศนาธรรม ประดับไว้ด้วยปรากฏอยู่
          ที่ก�าแพงแก้วด้านหน้าและด้านหลังของหอพระพุทธบาท
                     ด้านหลังของหอพระพุทธบาทก่อเป็นเจดีย์อิงครึ่งองค์ก่ออิฐถือปูน

          ฉาบปูน ท�าหน้าที่ค�้ายันผนังด้านทิศตะวันตกเป็นฝีมือท�าเพิ่มเติมของช่างค�าหมา
          แสงงาม และใช้บรรจุอัฐิของเสด็จเจ้าอุปราชค�าพันธ์ผู้ครองนครจ�าปาสัก

          (รักษาการเจ้านคร) ซึ่งทายาทน�ามาบรรจุไว้เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๗ (ห้างหุ้นส่วนจ�ากัด
          เอกพรไพศาล ๒๕๔๗: ๑๕) ปัจจุบันหลังการบูรณะหอพระพุทธบาทได้น�าไปเก็บ
          รักษาไว้ที่อื่นแทน
   141   142   143   144   145   146   147   148   149   150   151