Page 149 - วัฒนศิลปสาร ปีที่ ๑๕ (ตุลาคม ๒๕๖๒ - พฤษภาคม ๒๕๖๓) สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
P. 149

วัดในเขตอ�ำเภอเมืองอุบลรำชธำนี จังหวัดอุบลรำชธำนี 141


            ประมาณ ๒,๘๔๐,๐๐๐ บาท และครั้งที่ ๔ พ.ศ. ๒๕๔๘ ส�านักศิลปากรที่ ๑๑

            ได้บูรณะและปรับภูมิทัศน์หอพระพุทธบาท ซ่อมก�าแพงแก้ว รื้อซุ้มประตูก�าแพง
            แก้วด้านทิศตะวันออก แล้วสร้างตามแบบของเดิมที่เป็นเสาหัวเม็ด ปรับพื้น
            คอนกรีตในก�าแพงแก้ว และปรับปรุงที่บรรจุอัฐิสิ้นงบประมาณ ๑,๕๘๐,๐๐๐ บาท

            กรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนหอพระพุทธบาทเป็นโบราณสถานของชาติ ประกาศ
            ในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๑๑๒ ตอนที่ ๕๙ ง วันที่ ๒๕ กรกฎาคม ๒๕๓๘

                  ๒.๒ หอพระไตรปิฎก
                        สร้างขึ้นราว พ.ศ. ๒๓๘๕ โดยพระอริยวงศาจารย์ญาณวิมลอุบล
            สังฆปาโมกข์ (สุ้ย) เป็นผู้อ�านวยการสร้างและญาคูช่างชาวเวียงจันทน์เป็นช่าง

            ผู้ควบคุม ก่อสร้างกลางสระน�้า แผนผังหอเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า หันหน้าไปทาง
            ทิศตะวันออก มีสะพานไม้ทอดสู่ฝั่ง เป็นเรือนไม้เครื่องสับ ฝาไม้ปะกน

            ขนาดสี่ห้อง กว้าง ๘.๒๐ ม. ยาว ๙.๘๕ ม. สูงจากระดับพื้นน�้าถึงยอดหลังคาราว
            ๑๐ ม. บานหน้าต่างและประตูเขียนลายรดน�้ารูปเทวดาเป็นทวารบาล
            โครงสร้างหอยึดต่อกันด้วยวิธีเข้าเดือย หลังคาจั่วซ้อนกันเป็นชั้นลด มีไขราปีก

            และไขราจั่ว หน้าบันแกะสลักลวดลายเป็นรูปพรรณไม้ มีลิงและนกแทรกอยู่
            ด้านตะวันออกระหว่างชั้นลดของหน้าบันสลักลายกระจังรวนและประจ�ายาม

            ก้ามปู คันทวยด้านซ้ายและขวาของประตูสลักเป็นรูปเทพนม คันทวยอื่น ๆ รอบ
            หอสลักเป็นรูปพญานาค กรอบล่างของฝาปะกนรอบหอมีลวดลายสลักเป็น
            รูปนักษัตร ชาดกเรื่องต่าง ๆ สัตว์ป่าหิมพานต์ และปริศนาธรรมพื้นบ้านอีสาน

            เช่น หาบช้างซาแมว กลางเป็นห้องเก็บพระไตรปิฎกยกฐานสูงขึ้น มีประตู
            และบันไดขึ้นทางทิศตะวันออก ผนังห้องด้านนอกเขียนลายไทยลงรักปิดทอง

                        มีการบูรณะซ่อมแซมหอไตรครั้งแรกในสมัยพระครูวิโรจน์รัตโนบล
            (รอด นนฺตโร) เป็นเจ้าอาวาส โดยเปลี่ยนหลังคาไม้แป้นเกล็ดเป็นสังกะสี
            บูรณะซ่อมแซมครั้งที่สองใน พ.ศ. ๒๕๒๓-๒๕๒๔ สมัยพระราชรัตโนบล

            (พิมพ์ นารโท) เป็นเจ้าอาวาส กรมศิลปากรได้เปลี่ยนหลังคาจากสังกะสีมาเป็น
   144   145   146   147   148   149   150   151   152   153   154