Page 148 - วัฒนศิลปสาร ปีที่ ๑๕ (ตุลาคม ๒๕๖๒ - พฤษภาคม ๒๕๖๓) สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
P. 148
140 วัดในเขตอ�ำเภอเมืองอุบลรำชธำนี จังหวัดอุบลรำชธำนี
กล่าวกันว่าเสาค�้ายันขื่อหอพระพุทธบาท ๔ ต้นนี้เป็นฝีมือของ
พระครูวิโรจน์รัตโนบล (รอด นนฺตโร) บูรพาจารย์ช่างศิลป์แห่งเมืองอุบลราชธานี
เป็นผู้วาดด้วยตนเอง (สุรชัย ศรีใส ๒๕๕๕: ๑๙)
หอพระพุทธบาทนี้เป็นโบสถ์มหาอุดคือ ประตูทางเข้าเฉพาะ
ด้านหน้า บานประตูเป็นไม้จ�าหลักลายเครือเถาก้านขดออกช่อดอกกาละกับ
มีใบกระหนกแทรกด้วยรูปสัตว์ อาทิ นก กระรอก ลงรักปิดทองประดับกระจก
สีเขียว มีหน้าต่างด้านทิศเหนือและทิศใต้ด้านละ ๓ ช่อง ช่องละ ๒ บาน
บานหน้าต่างปิดทองลายฉลุบนพื้นสีด�าเรื่องทศชาติชาดก พระชาติละ ๑ บาน
เวียนจากซ้ายไปขวา ส่วนอีก ๒ บานเขียนลายเครือเถาออกช่อเทพพนม
การปิดทองลายฉลุนี้เป็นฝีมือของช่างอุทัยทอง จันทกรณ์ (ยุทธนาวรากร
แสงอร่าม ๒๕๕๑: ๑๒-๑๓) เหนือประตูและเหนือหน้าต่างมีซุ้มบรรพแถลง
ทรงมณฑป
การที่พระอริยวงศาจารย์ญาณวิมลอุบลสังฆปาโมกข์สร้างหอ
พระพุทธบาทขึ้นนี้เป็นการน�าประเพณีนมัสการพระพุทธบาท สระบุรี
ในวันเพ็ญเดือน ๓ ของชาวภาคกลางมาเผยแพร่ให้ชาวเมืองอุบลราชธานี
นมัสการพระพุทธบาทที่วัดทุ่งศรีเมืองด้วย (ยุทธนาวรากร แสงอร่าม ๒๕๕๑:
๑๒)
หอพระพุทธบาทได้รับการบูรณะครั้งแรกในสมัยที่พระครูวิโรจน์
รัตโนบล (รอด นนฺตโร) เป็นเจ้าอาวาส ครั้งที่ ๒ ใน พ.ศ. ๒๕๐๓ ในสมัยที่พระราช
รัตโนบล (พิมพ์ นารโท) เป็นเจ้าอาวาส ครั้งที่ ๓ ใน พ.ศ. ๒๕๔๗ ซึ่งครั้งที่ ๓ นี้
ส�านักศิลปากรที่ ๑๑ อุบลราชธานี ได้บูรณะหลังคาและโครงสร้างทั้งหมด เสริม
ความมั่นคงของผนัง เสริมโครงสร้างเสาระเบียงหลังคามุข เสริมรากฐาน ซ่อมพื้น
บันได ราวบันได ปิดทองประดับกระจกตามแบบของเดิม ปิดทองบัวหัวเสา
เปลี่ยนช่อฟ้ารวยระกาหางหงส์ให้เป็นไม้ตามเดิม ซ่อมประตู หน้าต่าง ปูกระเบื้อง
ภายใน ซ่อมตัดต่อส่วนที่ผุของโคนเสาไม้ค�้ายันขื่อ และปรับปรุงภูมิทัศน์ สิ้นงบ